HIGHLIGHTS :
- ผืนผ้าใบแบบจำลองการปฏิบัติการ (Operating Model Canvas: OMC) เป็นเครื่องมือที่จะช่วยปรับให้วิสัยทัศน์ระดับบนเชื่อมต่อเข้ากับการปฏิบัติการในระดับล่างให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน
- OMC ประกอบด้วย “POLISM” ได้แก่ Process / Organization / Locations / Information / Suppliers / Management System
- กรณีศึกษาของ Grab กับการนำ OMC มาประยุกต์ใช้
เวลาในการอ่าน 10 นาที
ธุรกิจเริ่มต้นใหม่ที่มีไอเดีย และวิธีการแก้ไขปัญหาได้ดีแล้ว พอทำธุรกิจมาสักระยะมักจะเติบโตไม่ได้ ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการปฏิบัติการ (Operation) หรืองานหลังบ้านที่ไม่ดีมากพอ ทำให้ผลิตสินค้าหรือให้บริการไม่ทันส่งมอบ หรือแม้แต่คุณภาพไม่สูงถึงระดับที่ลูกค้าคาดหวังไว้ ลูกค้าไม่พอใจ เป็นต้น
ผืนผ้าใบแบบจำลองการปฏิบัติการ (Operating Model Canvas: OMC) เป็นเครื่องมือที่จะช่วยปรับแต่ง ตั้งศูนย์ถ่วงล้อองค์กร ปรับให้วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธ์ศาสตร์ระดับบนในองค์กรสามารถเชื่อมต่อเข้ากับการปฏิบัติการในระดับล่าง ทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน จึงเสมือนพิมพ์เขียว (Blueprint) เครื่องมือนี้ถูกพัฒนาโดย Andrew Campbell และคณะ (Campbell, Gutierrez and Lancelott, 2017)ซึ่งแบบจำลองนี้ จะทำให้เห็นภาพรวมขององค์กร แบบ Bird’s eye view เห็นความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของระบบในองค์กร และเข้าใจว่าแต่ละหน่วยงานมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ได้แก่ กิจกรรม บุคลากร กระบวนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศ ผู้จัดหาวัสดุ พื้นที่ตั้ง และสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะส่งผลต่อการสร้างคุณค่าและการนำคุณค่าของสินค้าหรือบริการส่งมอบให้แก่ลูกค้า

โดยสรุปผืนผ้าใบแบบจำลองการปฏิบัติการ (OMC) จะเสมือนเป็นส่วนขยายของผืนผ้าใบแบบจำลองธุรกิจ (BMC) โดยมี ตัว P จะเป็นกิจกรรมหลัก (Key Activities) ตัว S เป็นพันธมิตรหลัก (Key Partner) และ O + L + I + M เป็นทรัพยากรหลัก (Key Resources) ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือที่เชื่อมระหว่างแผนยุทธ์ศาสตร์ และแบบจำลองธุรกิจเข้าด้วยกันเพราะทำให้เราสามารถออกแบบการปฏิบัติงานได้อย่างดียิ่งขึ้น

ตัวอย่าง Grab Application เริ่มจากการออกแบบกลุ่มลูกค้าเป้าหมายก่อน ซึ่งมีลูกค้า 3 กลุ่ม ได้แก่
Process (กระบวนการ) เริ่มจากการสร้างแอปพลิเคชันที่จำเป็น ศึกษาข้อกฎหมาย รับสมัครคนขับ ประชาสัมพันธ์ จับคู่คนขับและผู้โดยสารผ่านระบบ พร้อมทั้งระบบการชำระเงิน และการรีวิวให้คะแนนต่างๆ
Organization (องค์กร) องค์กรควรมีโครงสร้างแยกเป็นแผนก มีสำนักงานสาขาต่างๆ ตามประเทศเป้าหมาย เน้นหน่วยงานสารสนเทศเป็นผู้พัฒนาระบบให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของลูกค้าในแต่ละประเทศ
Locations (ทำเล) เลือกทำเลที่ตั้งในกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองสำคัญที่ต้องการจะขยายฐานการใช้งานของระบบ
Information (สารสนเทศ) มีระบบในมือถือและอุปกรณ์อัจฉริยะ ส่งข้อมูลผ่านระบบหลังบ้านเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ทำโครงการและโปรโมชันต่างๆ
Suppliers (ผู้จัดหาวัสดุ/บริการ) ช่วงแรกเน้นการบริการส่งคน และสินค้า จึงจำเป็นต้องรับสมัครผู้ขับยานพาหนะ และยานพาหนะเข้าระบบ
Management system (ระบบการจัดการ) เน้นการบริหารผ่านระบบออนไลน์ เนื่องจาก Grab เป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน
จะเห็นว่าเมื่อพัฒนาแบบจำลองธุรกิจควบคู่กับแบบจำลองการปฏิบัติการแล้ว จะทำให้องค์กรสามารถสร้างคุณค่า หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ของสินค้าและบริการได้ดียิ่งขึ้น จากตัวอย่างของ Grab ที่ปัจจุบันเข้าสู่อุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ มีสินค้าและบริการอีกมากมาย เช่น GrabBike ให้บริการรถมอเตอร์ไซค์ทั้งรับ-ส่งคน และให้บริการเช่ารถมอเตอร์ไซค์ GrabFood สั่งอาหารด่วนภายใน 30 นาที GrabExpress ส่งสินค้าด่วน GrabDriveYourCar ส่งเจ้าหน้าที่มาขับรถกลับไปยังจุดหมายให้ หรือล่าสุดยังสามารถจองห้องพักโรงแรมผ่าน Agoda และ Booking.com ได้ทันที
อ้างอิง :
Campbell, A., Gutierrez, M. and Lancelott, M. (2017) Operating Model Canvas: Aligning Operatings And Organization With Strategy. 1st edn. Edited by Van Haren Publishing. Van Haren Publishing.
เขียนโดย : วศ.สิริพงศ์ จึงถาวรรณ, ACPE, CSCP, EPPM
ตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการแบบลีน และเจ้าของแฟนเพจ Siripong Jungthawan
บริษัท ทำน้อยได้มาก จำกัด