HIGHLIGHTS :
- สรุปประเด็นสำคัญที่น่าสนใจของการทำธุรกรรม Mergers and Acquisitions (M&A) จากหลักสูตร “แนวโน้ม ทิศทางการทำ M&A ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาและกลยุทธ์การทำ M&A ให้ประสบความสำเร็จ” โดยตอนที่ 2 จะพูดถึง Trends ที่ 4-5 ได้แก่ 4.M&A as Interim step for bigger plan และ 5.Investment Strategy
เวลาในการอ่าน 3 นาที
บทความชุด 7 Trends ใหม่ที่ทำให้เกิดการทำ M&A มากขึ้นในปัจจุบัน
ตอนที่ 2: Trends ที่ 4-5 ได้แก่ 4.M&A as Interim step for bigger plan และ 5.Investment Strategy
ตอนที่ 3 จะพูดถึง Trends ที่ 6-7 ได้แก่ 6.Internal Restructuring / Synergy และ 7.Distressed M&A
4.M&A as Interim step for bigger plan วัตถุประสงค์ของการทำ M&A ในลักษณะนี้ มีเป้าหมายของการทำธุรกรรม เพื่อต้องการเพิ่มทุนหรือทำให้ธุรกิจมีขนาดใหญ่ขึ้น และสุดท้ายอาจจะออกจากธุรกิจ (Exit) โดยการเข้า จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไป (IPO) เช่น Lineman x Wongnai สามารถระดมทุนใน Series A ได้เงินทุนเป็นจำนวนมาก เป็นการใช้ธุรกรรม M&A ให้บรรลุเป้าหมายใหญ่ของบริษัทนั่นก็คือการระดมทุน หรือในกรณีของบริษัท Delivery ชื่อดังมีการยื่นข้อเสนอซื้อธุรกิจในต่างประเทศของคู่แข่ง เพื่อเป็นการขยายฐานลูกค้า ทำให้ธุรกิจมีเติบโต สุดท้ายเมื่อบริษัทเติบโตจนถึงจุดหนึ่งบริษัทอาจตัดสินใจเสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไป
5.Investment Strategy คือการตั้งเป้าหมายและวางกลยุทธ์ว่าต้องการให้ธุรกิจเดินหน้าไปในทิศทางใด เช่นกรณีธุรกิจปั๊มน้ำมันของไทย ตั้งเป้าอยากมีธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจร้านกาแฟ จึงใช้การทำ M&A ในการขยายธุรกิจของตัวเอง หรือกรณี ธนาคารพาณิชย์ตั้งเป้าว่าไม่ได้อยากเป็นแค่ธนาคาร แต่จะเป็น Financial Technology Player จึงนำเงินไปลงทุนในธุรกิจ Startup หรือทำ Venture Capital อื่นๆ โดยผลสำรวจจาก EY ที่ได้สอบถามความเห็นของผู้บริหารในเอเชียแปซิฟิก มองไปอีก 3 ปี ข้างหน้าพบว่า หลายธุรกิจมีการตั้งเป้าที่จะทำ M&A เพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงความสามารถในเชิงนวัตกรรมของ Startup เป็นปัจจัยสำคัญ
ข้อมูลอ้างอิง : https://www.set.or.th/set/enterprise/knowledgedetail.do?contentId=7960
สรุปและเรียบเรียงโดย : พิมพ์ลดา ศิวศักดิ์ศรัณ
ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย