HIGHLIGHTS :
- กรณีศึกษาของธุรกิจครอบครัวหนึ่ง ที่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเป็นอย่างมาก ซึ่งไม่ได้เฉพาะแค่ ใช้นวัตกรรมในด้านการผลิตสินค้า แต่ยังก้าวไปถึง “แนวทาง” การทำธุรกิจที่มี Business Model และ “รูปแบบ” การบริหารจัดการ Business Management ใหม่ๆ เพื่อหนีจากคู่แข่งไปสู่ White Ocean
เวลาในการอ่าน 3 นาที
จากประวัติของ “ธุรกิจกงสี” รายนี้...เริ่มต้นจาก “โรงงานยางเก่า” จนกิจการเป็นรูปเป็นร่างในปี 2521 เติบโตด้วย Innovation คิดค้น “สิ่งใหม่” และค้นหา “แนวทางใหม่” จนมี Hidden Asset & Hidden Value ทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตนแต่มี “มูลค่าสูง” ที่ใช้เป็น Product & Business Champion ในกิจการเริ่มจากไทยกระจายไปทั่วโลก...จนนึกภาพไม่ออกว่า “ธุรกิจครอบครัว” อายุร่วม “ครึ่งศตวรรษ” จะมาไกลถึงขนาดนี้
Innovation ไม่ได้มีแค่สินค้า Innovative Product เท่านั้น ... นวัตกรรมยังไปได้ไกลถึง “แนวทาง” การทำธุรกิจ Business Model และ “รูปแบบ” การบริหารจัดการ Business Management ของกิจการนั้น
มาดูกันว่า Innovation ในส่วนของ Innovative Management จะไปได้ไกลว่า Innovative Product หรือไม่ ?
Innovation 1: New Product ปี 2521
ธุรกิจครอบครัวรายนี้เริ่มต้นกิจการด้วยการ “พัฒนา” เทคโนโลยีในการผลิต “ฉนวนยางกันความร้อน/เย็น” โดยมี Formula และ Production Technology ที่ “คิดค้น” เอง “แตกต่าง” และ “ดีกว่า” ฉนวนยางทั่วไป...จำหน่ายไปทั่วโลกใน Brand & Trademark ชื่อ Aeroflex
หากไม่เริ่มต้นด้วย Brand ของตัวเอง...แค่รับจ้างผลิต (Toll Manufacturer) หรือ OEM (Original Equipment Manufacturer) เหมือน “ธุรกิจครอบครัว” หลายรายของไทยที่เน้น Volume จากการผลิตมากกว่าเน้น Margin จากการขาย...บ้านนี้จะไปได้ไกลทั่วโลกขนาดนี้หรือไม่ ?
Innovation 2: Business Model: Joint Venture ปี 2538
ปี 2538 ธุรกิจครอบครัวรายนี้...“ร่วมทุน” กับบริษัทญี่ปุ่นในไทยผลิต “ยางกันสะเทือน” และผลิต Compound Rubber “ยางผสม” ในอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นหลัก...เพื่อออกนอก Comfort Zone จากเดิมใน “ยางและพลาสติกการประมง” และ Scale-up กิจการสู่ต่างประเทศ
คู่ขนานกับการร่วมทุน Big Player ใน “สินค้าประเภทยาง” ในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็น “สินค้าถนัด” ในปี 2539 บ้านนี้ได้ “ขยาย” ออกสู่ “น่านน้ำใหม่” ด้วยการผลิตและจำหน่าย “ชิ้นส่วนอุปกรณ์และตกแต่งยานยนต์” โดยเริ่มจาก “สินค้าสิทธิบัตร” Patent Product แผ่นพลาสติกปูพื้นรถกระบะ (Bed Liner) ภายใต้ Brand ไทยที่ไปทั่วโลก คือ Aeroklas ตามด้วย “หลังคาคลุมกระบะรถยนต์” และ “ฝาครอบกระบะรถยนต์” ตลอดจน “บันไดข้างรถยนต์”
Innovation 3: Inorganic Growth: M&A ในปี 2544
หลังจาก “แตกหน่อต่อยอด” ใน “สินค้าถนัด” และ “อุตสาหกรรมคุ้นเคย” ของธุรกิจครอบครัวแล้ว ในปี 2544 บ้านนี้ “เรียนรู้” การเติบโตรูปแบบใหม่ Inorganic Growth ด้วยการ “ซื้อกิจการ” (M&A) แบบ Asset Deal จากบริษัทมหาชนในกิจการผลิตพลาสติก...เพื่อเข้าสู่ “ธุรกิจใหม่” คือ การผลิตและจำหน่าย Plastic Packaging โดยมี Brand ของตัวเอง คือ EPP สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
หลังจากนี้ เห็นได้ว่าการ “ซื้อกิจการ” ของธุรกิจครอบครัวรายนี้จะมี “คู่ขนาน” กับการ “ร่วมทุน” Joint Venture โดยเฉพาะกิจการต่างประเทศที่ออกนอก Red Ocean ที่มีคู่แข่งในไทยออกสู่ “น่านน้ำใหม่” ในระดับโลกทั้ง Middle East / Asia / Australia / US
Innovation 4: R&D Center ในปี 2553
หลังจาก “ธุรกิจครอบครัว” รายนี้สร้าง Brand & Patent ให้เป็น “ทรัพย์สินทางปัญญา” ของกิจการแล้วกว่า 30 ปี ในปี 2553 บ้านนี้เริ่ม Spin-Off กิจการ “วิจัยและพัฒนา” ออกไปตั้งเป็น “บริษัทใหม่” เพื่อให้บริการกิจการ R&D ภายในเครือบริษัทของตัวเองพร้อมทั้งให้บริการ “วิเคราะห์และทดสอบ” Rubber Product พลาสติก โลหะ Ceramic บรรจุภัณฑ์และ Automotive Parts ให้กับบริษัทนอกเครือด้วย
นอกเหนือจากการมี “เครื่องหมายการค้า” และ “สิทธิบัตร” ที่เป็น Intellectual Property ของตัวเองแล้ว...ธุรกิจครอบครัวรายนี้ได้เพิ่ม Business Value ของกิจการด้วย Research & Development Focus ที่ส่งผลให้กิจการ “ต่อยอด” ออกไปได้กว้างมากขึ้น
Character ของธุรกิจครอบครัวรายนี้...เริ่มต้นจากการ “ทดลอง” และ “ค้นคว้า” เป็นทุนเดิมก่อนหน้านี้ และ สะท้อนให้เห็นความชัดเจนด้าน “นวัตกรรม” Innovation ผ่านการมี R&D Center ในรูปของบริษัทถึงขนาดวางตัว “คนกงสี” ให้เป็น CIO (Chief Innovation Officer) เพื่อ “ต่อยอด” งานด้านนวัตกรรมให้ “ไปต่อ” และ “ไปถึงที่สุด”
Innovation 5: IPO & Go Public ในปี 2557
นวัตกรรมในการบริหารงานกิจการของ “ธุรกิจกงสี” รายนี้ที่น่าสนใจอีกเรื่อง คือ การปรับโครงสร้างองค์กรให้เป็น “บริษัทโฮลดิ้ง” (Holding Structure) หรือ “บริษัทลงทุน” (Investment Company) ในกิจการของบริษัทในเครือในปี 2556 เพื่อเปิดโอกาสให้ “บริษัทในเครือ” ได้ขยายกิจการและมีโอกาสเติบโตอย่างมีอิสระ (Independent Growth)
รูปแบบนี้ถือได้ว่า “ใหม่” หากย้อนเวลาไปในช่วงเวลาเกือบสิบปีที่ผ่านมา...เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่มี “บริษัทโฮลดิ้ง” ให้เห็นจำนวนมากขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ เช่น RATCH กลุ่มธุรกิจพลังงาน / PSH พฤกษาโฮลดิ้งของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ / Zen Corporation กิจการร้านอาหารหลากหลาย / กิจการประกันภัย TIP Holding หรือแม้แต่ SCBx กลุ่มธุรกิจธนาคารและการเงิน
ในปี 2557 ธุรกิจกงสีรายนี้...ได้ IPO และเข้าตลาดหลักทรัพย์ด้วยทุนจดทะเบียนบริษัทขนาดใหญ่มากเกือบ 3 พันล้านบาท จากจุดเริ่มต้นของการ IPO นี้ถือได้ว่าเป็น Starting Point ของกิจการที่สร้าง Innovation ใหม่ในการ “บริหารกิจการ” ธุรกิจครอบครัวให้มี Business Value & Family Wealth มากขึ้น
Innovation 6: Go Inter ในปี 2558
หลังจาก “ระดมทุน” จากตลาดหลักทรัพย์เพียงพอแล้ว ธุรกิจครอบครัวรายนี้กลายเป็น “บริษัทจดทะเบียน” อีกรายที่ Go Inter และเริ่ม “ซื้อกิจการ” ในต่างประเทศมากขึ้น ด้วยการซื้อกิจการ TJM Products ใน Australia ในปี 2558 เพื่อเพิ่ม Offshore Distribution Channel ในต่างประเทศ
คนในครอบครัวกล่าวว่า “การซื้อ TJM เหมือนกับการซื้อ 7 Eleven of The World” ที่สามารถเข้าถึง “ช่องทางการจัดจำหน่าย” สินค้าเกี่ยวกับการตกแต่งรถยนต์ได้ทั่วโลก
หลังจาก “ซื้อกิจการ” M&A ใน Australia ตามด้วยการ Joint Venture ร่วมทุนกับ “เจ้าถิ่น” ในปี 2559 เพื่อผลิตและขายสินค้าเกี่ยวกับรถยนต์ในมาเลเซีย
ปี 2560 ตั้ง “บริษัทลูก” ใน Australia เพื่อร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติในออสเตรเลีย เพื่อประกอบกิจการ “ร้านค้า” อุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ 4WD สำหรับลูกค้า B2C (Retail)
ในปี 2561 ธุรกิจครอบครัวรายนี้...ขยายกิจการแบบ M&A ซื้อหุ้นของ Flexiglass ร้านขายสินค้าตกแต่งรถกระบะในออสเตรเลียที่มี Distributor & Dealer ร่วม 100 แห่งเพื่อเสริมแกร่งให้กับ TJM Products ที่ได้ “ซื้อกิจการ” ก่อนหน้านี้แล้ว
ปี 2561 Joint Venture ร่วมทุนใน South Africa ขยายกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้า อุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ลูกค้า OEM และรายย่อย Retail ในอาฟริกาใต้
ปี 2563 ร่วมทุน Joint Venture ใน Turkey ผ่าน Aeroklas เพื่อขยายกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ตกแต่งยานยนต์ในตุรกี
ปี 2564 ธุรกิจครอบครัวรายนี้นำ TJM สินค้า “กลับบ้าน” ในไทยและขยายสู่ตลาด Asia Pacific
ธุรกิจครอบครัวรายนี้...ไม่ใช่ “ใคร” ที่ไหน ? คือ EPG ในตลาดหลักทรัพย์...เดิมชื่อ “ตะวันออกโปลีเมอร์อุตสาหกรรม” จากบริษัทเดียวในปี 2521 กลายเป็น 27 บริษัทในเครือปัจจุบัน สิทธิบัตรในเครือร่วม 1,000 ฉบับทั่วโลก และเครื่องหมายการค้าจำนวนมาก สินค้าขายไปยังต่างประเทศ 100 กว่าประเทศทั่วโลก ยอดขายอันดับ 3 ของโลกรองจาก USA และ Italy
ธุรกิจครอบครัวนี้...ต้อง “มีอะไรดี” สักอย่าง ? ที่ผ่าน “ด่านสำคัญ” คือ อายุธุรกิจเกิน 50 ปี...เครือข่ายสินค้าขายมากกว่า 100 ประเทศ ทรัพย์สินทางปัญญาแตะ 1,000 ประเภท ยอดขายรวมแตะ 10,000 ล้านบาท
คำตอบของคำถามเหล่านี้...น่าจะมาจาก “ความเชื่อ” ของครอบครัวผ่านผู้นำธุรกิจครอบครัวที่ “เชื่อ” ว่า “ธุรกิจอยู่ด้วยนวัตกรรม...โตด้วยนวัตกรรม...หากินกับนวัตกรรม”
WoW Factor คือ Innovation มีพลังจริง (Powerful Innovation)
บทความโดย : ชินภัทร วิสุทธิแพทย์
ONE Law Office