HIGHLIGHTS :
- การมองหาโอกาสและปรับตัวเองอยู่เสมอนั้น เป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโต อีกทั้งในโลกที่ต้องการความเร็ว การหาพันธมิตรที่เข้มแข็ง จะช่วยเสริมแรงให้ธุรกิจขยายพื้นที่ไปได้ “กว้างและไกล” กว่าเดิม
เวลาในการอ่าน 3 นาที
ธุรกิจครอบครัวรายนี้เริ่มกิจการในปี 2531 ใช้เวลา “สร้างธุรกิจ” ให้เติบโตกว่า 20 ปีก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2552 ด้วยธุรกิจ “ขาย” โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริม รวมสินค้า IT ผ่าน Shop ของตัวเองร่วม 200 สาขาโดยมีรายได้ “เกือบ” ทั้งหมด 5 พันกว่าล้านบาทมาจาก Trading Income นอกนั้น รายได้อีกเล็กน้อยมาจาก Service ธุรกิจบริหารพื้นที่ค้าปลีก และธุรกิจบริการติดตามเร่งรัดหนี้
ถึงกระนั้น มาติดตามดูกันว่า “ธุรกิจครอบครัว” รายนี้ผ่าน “ด่านร้อยสาขาแรก” มาแล้วจะก้าวผ่าน “ด่านร้อยสาขาต่อไป” (เกิน 200 สาขา) อย่างไรให้ได้ Margin ที่สูงขึ้น และ Cost Control ได้ดีขึ้น
ความน่าสนใจของธุรกิจครอบครัวรายนี้ในการ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ยอดขาย (Revenue) และจำนวนสาขา (Distribution Channel) ที่เริ่มขยายตัว และสร้าง House Brand สินค้าตัวเอง...แทนที่จะ “พึ่งพา” Brand คนอื่นแต่เพียงอย่างเดียว
Change 1 การเปลี่ยน “แหล่งรายได้หลัก” จาก Trading Income เป็น “ดอกเบี้ย”
บริษัทนี้เริ่มต้นเป็นแบบ Trading อยู่ได้บนพื้นฐานของ “กำไร” จากการเป็น “คนกลาง” ระหว่าง “เจ้าของสินค้า” และผู้บริโภค หาก Margin ต่ำและ “ผูกใจ” ลูกค้าไม่ได้ กิจการแบบนี้จะขาด WoW Factor ทันที
ในปี 2558 เริ่มเข้าใจ “ตลาดทุน” มากขึ้น จึงเข้าไป “ซื้อกิจการ” ผ่าน “หุ้นบางส่วน” เกือบ 1 ใน 4 ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่มีอายุธุรกิจกว่า 130 ปีทั้งที่ตัวเองมีอายุธุรกิจไม่ถึง 30 ปี
Singer มีอะไร? ทำไม “บริษัทนี้” ต้องเข้าไปลงทุนในกิจการอายุกว่า 100 ปี...คำตอบอยู่ที่ Business Model ของ Singer ที่มี Hidden Asset และ Hidden Value สำคัญหลายอย่าง เช่น ดอกเบี้ยเป็นรายได้หลัก ฐานข้อมูลลูกค้า B2C ทั่วไทย การขายสินค้าแบบ “ถึงตัวลูกค้า” (Face to Face Customer) หรือ Direct Sale ที่มี People ที่เก่งการขายอยู่แล้ว
นอกจากนั้น การเติบโตด้วยการ M&A แบบ Inorganic ของ “บริษัทนี้” ส่งผลให้สามารถนำ “บริษัทลูก” ที่มีอยู่เดิมและให้บริการติดตามเร่งรัดหนี้ได้ “ต่อยอด” ทางธุรกิจโดย “เติมเต็ม” ส่วนที่ Singer ขาดหายไปจาก “หนี้คงค้าง” จาก “ลูกค้าเงินผ่อน” ทั่วประเทศจำนวนมาก
โอกาสทางธุรกิจของ M&A เพื่อให้เกิด Business Integration จึงเกิดขึ้นให้เห็น Combination ที่มี Character ต่างกัน...เพื่อให้ได้ Outcome ที่ต่างกันออกไป
Change 2 การเปลี่ยน Business Model เป็น Holding Structure
ในปี 2560 หลังจาก 2 ปีในการเข้าไปลงทุนใน Singer แล้ว “บริษัทนี้” ปรับโครงสร้างกิจการของ Singer แล้ว ย้อนกลับมา “เปลี่ยนตัวเอง” ด้วยการ “แปลงร่าง” เป็น “บริษัทโฮลดิ้ง” Holding Company
เดิม “บริษัทนี้” เข้าไปถือหุ้น Singer หนึ่งในสี่ของหุ้นทั้งหมดแล้วต่อมาได้เพิ่มการลงทุนใน Singer ไปถึงกว่า 30% จากนั้นได้ปรับเปลี่ยน Business Model ของตัวเองจากเดิม Trading Model ให้กลายเป็น Holding Model หรือ Investment Company เพื่อการลงทุนใน “บริษัทลูก” เดิมและใหม่ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ในธุรกิจใหม่ที่ตัวเองไม่ได้ทำกิจการเองโดยตรง
การเป็น “บริษัทโฮลดิ้ง” นั้น เริ่มด้วยการ Spin-Off หน่วยงานในบริษัทบางส่วนออกไปเป็น “บริษัทใหม่” เพื่อให้มี “ความเป็นอิสระ” ในการบริหารงาน (Management Independence) และเพิ่ม Career Path ของบุคลากรในองค์กร อีกทั้งบริษัทโฮลดิ้งจะทำหน้าที่เป็น Single Command ผ่าน “บริษัทลูก” ที่แยก Expertise ของ “คนทำงาน” และแยก Key Revenue Stream ของกิจการแต่ละบริษัทในเครือ เช่น Startup และ Fintech เพื่อให้ “ผลกำไร” ทั้งหลายไปตกอยู่ที่ Holding Company
การ “เปลี่ยนครั้งที่สอง” นี้...ถือเป็นการ “เปลี่ยนเชิงโครงสร้าง” ที่มีผลต่อ “องค์กรธุรกิจ” และ “คนในองค์กร” รวมถึง “รายได้หลัก” จะเปลี่ยนจาก Trading Income + Margin กลายเป็น “เงินปันผล” จากบริษัทในเครือทั้งหลาย
Change 3 การเปลี่ยน Red Ocean เป็น Blue Ocean
ธุรกิจครอบครัวรายนี้เปลี่ยน Character ของธุรกิจแล้ว เป็น Business Leader ออกนอก Red Ocean ที่สู้กัน “เลือดสาด” ใน Marketplace ของ Trading Zone มาสู่แนวทางใหม่ของ “ตลาดทุน” และ “ตลาดเงิน”
ในปี 2561 บริษัทคิดเชิงรุกในการ “ระดมเงิน” ทำ Fund Raising ผ่านการออก J-Fin Coin ผ่าน “บริษัทลูก” เพื่อเสนอขาย Digital Token ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (ICO: Initial Coin Offering) และเป็นรายแรกของไทยเพื่อรองรับ Blockchain Technology
ธุรกิจครอบครัวที่กล่าวมานี้คือ J Mart ที่ “ผู้นำครอบครัว” สร้างกิจการได้ในรุ่นเดียว Gen 1 และกำลังท้าทายต่อสิ่งใหม่ ๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมาตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2552 และนำพา “ธุรกิจครอบครัว” เข้าสู่ “น่านน้ำใหม่” (Blue Ocean) ที่คู่แข่งน้อยราย
Change 4 การเปลี่ยน Single Player เป็น TEAM Player
J Mart ได้เพิ่ม Investor ในบริษัทตัวเอง และ Dilute หุ้นของ “สมาชิกครอบครัว” น้อยลงโดยมี Big Player ที่ตัวใหญ่กว่ามาลงทุนใน J Mart รวมกันแล้วกว่า 25% คือ VGI และ U City ในเครือ BTS รวมทั้ง “จับมือ” กับ Gunkool เพื่อร่วมลงทุนด้านพลังงาน Solar Rooftop และกัญชง
การเปลี่ยนแปลงตัวเองพร้อมไปกับการหาพันธมิตรใหม่ๆ เป็นการขยายทั้งโอกาสและขยายตลาดให้กับธุรกิจ ให้ไปต่อได้ “กว้างและไกล” กว่าเดิม
บทความโดย : ชินภัทร วิสุทธิแพทย์
ONE Law Office