Capital Market Research Innovation 2018
ที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ
สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีความประสงค์ที่จะสนับสนุนแนวคิดสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติหรือสามารถนำไปต่อยอดได้ โดยการผสานองค์ความรู้และแนวคิดใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนในหลายมิติ ซึ่งต้องการองค์ความรู้ที่จะผสานในหลายสาขาวิชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
- ส่งเสริม สนับสนุนและกระตุ้นให้นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา รวมไปถึงบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในธุรกิจตลาดทุน ให้มีความสนใจค้นคว้าศึกษา คิดวิเคราะห์ และสร้างสรรค์แนวคิดรวมถึงการตั้งคำถามหรือสร้างโจทย์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาตลาดทุนไทย หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน
- สร้างนักคิด นักสร้างสรรค์ ที่มีคุณภาพ เพื่อให้มีทักษะที่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่เกิดขึ้น
- ส่งเสริมให้มีนวัตกรรมด้าน วีดิทัศน์ /สื่อต่างๆ ที่ระบุถึงการให้ความรู้ การแก้ปัญหา หรือแนวคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน
เกี่ยวกับกิจกรรมและการแข่งขัน
สถาบันวิจัยฯ จะจัดการแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 เฟส ได้แก่
เฟสที่1. CM Smart Ideas: ให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถนำเสนอแนวคิดหรือคำถามที่สามารถนำมาทำการศึกษาเพื่อหาคำตอบ โดยผู้ที่สนใจสามารถเสนอแนวคิดหรือคำถามผ่านการ Survey บนช่องทาง Online
เฟสที่ 2. CM Research Innovation Contest: ให้ทีมวิจัยทำการศึกษาตามหัวข้อที่ได้รางวัลจากเฟสแรก โดยผู้ที่เข้าโครงการอาจนำเสนอนวัตกรรมในการทำวิจัยรูปแบบใหม่โดยอาจผสมผสานเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อตอบโจทย์ตามแต่ละหัวข้องานวิจัย
เฟสที่ 3. CM Media Challenge: การประกวดการนำเสนอผลงานในรูปแบบสื่อการเรียนรู้ทางการเงินที่อาจเป็นคลิปวีดิโอ/ Animation/ สื่อความรู้เคลื่อนไหวอื่นๆ ซึ่งเป็นการนำเสนอผลงานรูปแบบใหม่ที่ต่างจากการนำเสนอผลงานวิชาการทั่วไป
รายละเอียดการแข่งขัน
- เฟสที่ 2
หัวข้อ |
รายละเอียด |
ชื่อโครงการ |
CM Research Innovation Contest |
วัตถุประสงค์ |
เพื่อสรรหาผู้สนใจที่จะเข้ามาตอบโจทย์ใน 10 หัวข้อ ที่ได้รับรางวัลจากเฟสที่ 1. Capital Market Smart Idea 2018 << รายละเอียดเพิ่มเติม >> |
กลุ่มเป้าหมาย |
นักวิจัยที่อยู่ในภาคการศึกษา รวมไปถึงบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในการศึกษาหัวข้อที่กำหนด โดยอาจจะสมัครเดี่ยว หรือสมัครเป็นทีม (ไม่จำกัดจำนวน) |
รูปแบบการแข่งขัน |
สถาบันวิจัยฯ จะไม่กำหนดรูปแบบของวิธีทำการวิจัย ผู้ที่เข้าโครงการอาจนำเสนอนวัตกรรมในการทำวิจัยรูปแบบใหม่โดยผสมผสานเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อตอบโจทย์ตามแต่ละหัวข้องานวิจัย โดยผลงานวิจัยของผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับการคัดเลือกทั้งหมดจะถูกเผยแพร่บน Website และ Social Media ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทในเครือตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ผู้วิจัย/ ทีมวิจัยเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวิจัย |
การรับสมัคร
ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการโปรดส่งข้อเสนองานวิจัยที่ระบุถึง 1) โจทย์งานวิจัย 2) ข้อมูลที่ใช้ 3) วิธีการทำวิจัย โดยสังเขป พร้อมแนบ CV ของผู้ทำวิจัยมาที่ CMresearchinnovation@set.or.th ภายในวันที่ 20 ก.พ. 2562
กำหนดการ
วันที่ |
กำหนดการ |
20 ก.พ. 62 |
หมดเขตส่งข้อเสนองานวิจัยเข้าร่วมโครงการฯ |
15 มี.ค. 62 |
ประกาศผลรอบคัดกรองรอบที่ 1 << รายละเอียดเพิ่มเติม >> |
25 มี.ค. – 30 เม.ย. 62 |
นำเสนอข้อเสนองานวิจัยต่อคณะกรรมการ |
31 พ.ค. 62 |
ประกาศผลเข้ารอบพิจารณาให้ทุนวิจัย << รายละเอียดเพิ่มเติม >> |
ภายในไตรมาส 4/62 |
นำเสนอผลงานวิจัย |
รางวัลการแข่งขัน
รางวัล |
|
ทุนวิจัย เฟสที่สอง CM Research Innovation Contest |
|
ทุนวิจัย 10 ทุน |
สูงสุด 200,000 บาท/ ทุน |
เกณฑ์ในการตัดสิน
ข้อเสนองานวิจัยของท่านจะถูกพิจารณาจากคณะกรรมการที่เป็นผู้แทนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและผู้ทรงคุณวุฒิในธุรกิจตลาดทุน โดยมีหลักเกณฑ์ในการให้ทุนวิจัยดังนี้
- โจทย์งานวิจัยมีความเกี่ยวเนื่องกับ 10 หัวข้อที่ทางสถาบันวิจัยฯ กำหนด มีความน่าสนใจและมีประโยชน์กับผู้มีส่วนร่วมในตลาดทุนในวงกว้าง
- ข้อมูลที่ใช้มีความเหมาะสมกับโจทย์งานวิจัย และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- วิธีการทำวิจัย สถาบันวิจัยฯ ส่งเสริมให้นักวิจัยนำวิธีการใหม่ๆ มาใช้เพื่อตอบโจทย์ในตลาดทุนไทย โดยผู้วิจัยสามารถนำเสนอวิธีการที่ผสานองค์ความรู้ในหลายสาขาวิชาและโดยอาจเป็นรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีนักวิจัยใช้ใน Literature Review
- ผลการวิจัย สถาบันวิจัยฯ ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างการทำวิจัยในแต่ละหัวข้อ จึงไม่ได้จำกัดทั้งเรื่องข้อมูลและวิธีการทำวิจัยที่ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการจะนำมาใช้ อย่างไรก็ดี เกณฑ์ในการพิจารณามูลค่าของเงินทุนวิจัยที่สถาบันวิจัยฯ จะมอบให้นั้น มีรายละเอียดตามตาราง guideline ทางด้านล่างนี้
|
Tier 1 |
Tier 2 | Tier 3 |
ผลการวิจัย |
งานวิจัยเชิงวิชาการที่มีลักษณะไม่เป็น full-paper หรือแอปพลิเคชั่นที่เป็นเพียง prototype ที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปต่อยอดในอนาคตได้ |
งานวิจัยเชิงวิชาการที่มีลักษณะเป็น full-paper หรือแอปพลิเคชั่นที่ทำเสร็จแล้วแต่ต้องมีการปรับปรุงผลงานก่อนที่จะเผยแพร่ |
งานวิจัยเชิงวิชาการที่มีลักษณะเป็น full-paper หรือแอปพลิเคชั่นที่สามารถเผยแพร่ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในตลาดทุนได้อย่างสมบูรณ์ |
เงินทุนวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ |
ไม่เกิน 5 หมื่นบาท |
ไม่เกิน 1 แสนบาท |
1 – 2 แสนบาท |
คณะกรรมการตัดสิน
- คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาผู้ที่ผ่านรอบคัดกรองรอบที่ 1จากหน่วยงานภายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
- คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรอื่นๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจตลาดทุนร่วมพิจารณาผู้ที่ได้รับทุนวิจัย
ติดต่อสอบถาม
E-mail: CMresearchinnovation@set.or.th หรือ
SET Contact Center:
www.set.or.th/contactcenter
02 009 9999