
|
SET Note Volume 3/2565 : บทบาทของกรรมการผู้หญิงในบริษัทจดทะเบียนไทย (Female On Board’s Directors)
เพื่อส่งเสริมการหลายหลายทางเพศ (gender diversity) หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการได้ออกข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อส่งเสริมผู้หญิงให้มีบทบาทในเวทีต่างๆ ทั้งเวทีระดับโลก ภูมิภาค หรือระดับบริษัท และพบว่า หญิงไทยมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในฐานะกรรมการของคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนไทย และมีบทบาทผู้นำ (leadership) ในบริษัทจดทะเบียนไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งในฐานะ “ประธานกรรมการ” หรือ “ผู้บริหารระดับสูงสุด” ของบริษัทจดทะเบียน
- จากการศึกษาโครงสร้างคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนไทย ณ สิ้นปี 2563 จำนวน 731 บริษัท พบว่า ณ สิ้นปี 2563 สัดส่วนจำนวนผู้หญิงต่อจำนวนกรรมการทั้งชุดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 22.23% จาก ณ สิ้นปี 2562 ที่อยู่ 22.09% และพบว่า ณ สิ้นปี 2563 สัดส่วนจำนวนที่นั่งกรรมการเป็นผู้หญิงต่อจำนวนที่นั่งกรรมการอยู่ที่ 21.02% เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2562 ที่อยู่ที่ 20.72%
- นอกจากนี้ ณ สิ้นปี 2563 ยังพบว่า 87.3% ของบริษัทจดทะเบียนจากทั้งหมด ได้แต่งตั้งผู้หญิงอย่างน้อย 1 คน ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการของบริษัท ซึ่งสัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2558 ที่อยู่ที่ 79.4%
- ณ สิ้นปี 2563 พบว่า 56.2% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดมีการแต่งตั้งผู้หญิงอย่างน้อย 1 คน ดำรงตำแหน่งกรรมการโดยเป็น “กรรมการอิสระ” ในคณะกรรมการบริษัท และสัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2558 ที่อยู่ที่ 47.8%
- ผู้หญิงมีบทบาทในคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้น เมื่อพิจารณาจากจำนวนบริษัทจดทะเบียนที่ผู้หญิงดำรงตำแหน่งเป็น “ประธานกรรมการ” (chairman of board director) โดย ณ สิ้นปี 2563 มี 57 บริษัท ที่ผู้หญิงดำรงตำแหน่งเป็น “ประธานกรรมการ” หรือ คิดเป็น 8.4% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นปี 2562 ที่อยู่ที่ 47 บริษัท 6.9% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด
- ขณะที่บทบาทผู้หญิงในด้านการบริหารจัดการ เมื่อพิจารณาจากผู้หญิงที่เป็นผู้บริหารอันดับสูงสุดขององค์กร พบว่า ณ สิ้นปี 2563 ลดลงเล็กน้อยจากสิ้นปี 2562 โดย ณ สิ้นปี 2563 มีผู้หญิงเป็นผู้บริหารอันดับสูงสุดของบริษัท จำนวน 101 บริษัท คิดเป็น 13.8% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด ลดลงจากจำนวน 105 บริษัท คิดเป็น 14.8%
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 2/2565 : การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย
จากข้อมูลสถิติ พบว่า จำนวนนักลงทุนและจำนวนบัญชีที่เปิดซื้อขายทำสถิติสูงสุดอย่างต่อเนื่อง และล่าสุด ณ สิ้นปี 2564 จำนวนนักลงทุนเพิ่มขึ้นไต่สู่ระดับ 3 ล้านราย และจำนวนบัญชีที่เปิดซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทยทำสถิติสูงสุดใหม่ โดยมีจำนวนบัญชีสูงกว่า 5 ล้านบัญชี
- จำนวนนักลงทุนเพิ่มขึ้นไต่สู่ระดับ 3 ล้านราย มีการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในปี 2563 - 2564 โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 จำนวนนักลงทุนที่เปิดบัญชีทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 3,101,457 ราย หรือเพิ่มขึ้น 946,557 รายจากสิ้นปี 2563 อาจกล่าวได้ว่า ในปี 2564 มีจำนวน นักลงทุนเพิ่มขึ้นมากกว่า 2.8 เท่าของการเพิ่มขึ้นในปี 2563 หรือมากกว่าจำนวนนักลงทุนทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีก่อนหน้า (ปี 2559 - 2563)
- จำนวนบัญชีที่เปิดซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทำสถิติสูงสุดใหม่ โดย ณ สิ้นปี 2564 มีจำนวนบัญชีที่เปิดซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทย 5.2 ล้านบัญชี
- การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต การเชื่อมโยงระบบการซื้อขายกับระบบออนไลน์ของธนาคารพาณิชย์ การทำงานที่บ้าน (Work from Home) และนโยบายการกระจายการจัดสรรหุ้น IPO เป็นปัจจัยสำคัญสนับสนุนการขยายตัวของนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย
- จากข้อมูลจำนวนผู้ถือหุ้นจากการปิดสมุดทะเบียนล่าสุดของบริษัทจดทะเบียนในปี 2563 และในช่วง 10 เดือนของปี 2564 พบว่า จำนวนผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนมีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งนอกจากจะมีปัจจัยสนับสนุนเช่นเดียวกับการเพิ่มจำนวนผู้ถือหุ้นแล้ว ยังมีปัจจัยสนับสนุนที่แตกต่างกันรายบริษัท อาทิ การขยายขอบเขตของธุรกิจเดิม การเข้าสู่ธุรกิจใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโต การพลิกฟื้นกิจการ เป็นต้น ที่ส่งให้ทั้งจำนวนนักลงทุนและจำนวนผู้ถือหุ้นในตลาดหุ้นไทยทำสถิติสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 1/2565 : สรุปงาน "ถอดรหัส เจาะพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์การลงทุนคนรุ่นใหม่"
- งาน SET: Capital Market Research Forum 1/2565 หัวข้อ "ถอดรหัส เจาะพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์การลงทุนคนรุ่นใหม่" จัดขึ้นในวันอังคารที่ 18 มกราคม 2565 ผ่านทาง Online SET Facebook / Youtube Live โดยเกิดจากความร่วมมือระหว่าง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเวทีสำหรับนักวิชาการจากภาคการศึกษามานำเสนอผลการศึกษาใหม่ๆ โดยสามารถนำมาต่อยอดและจุดประกายให้มีความคิดนำมาพัฒนาใช้กับธุรกิจตลาดทุนได้ และเป็นเวทีเสวนาสำหรับนักวิชาการในภาคการศึกษาและท่านผู้บริหารในภาคธุรกิจมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มุมมอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตลาดทุนไทยได้อย่างยั่งยืน
- ในช่วงแรก เป็นการนำเสนอผลการสำรวจ “พฤติกรรมเชิงลึกและไลฟ์สไตล์ ทางการเงินของคนรุ่นใหม่” โดย ผศ. ดร. ธานี ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลอง จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมไลฟ์สไตล์ทางการเงินและพฤติกรรมการลงทุนของผู้ที่มีอายุอยู่ในช่วง 18 - 39 ปี พบว่าคนรุ่นใหม่ยังคงให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงิน และการออม ในระดับสูง และมีการมองหารายได้อื่นนอกเหนือจากงานประจำอยู่เสมอ
- ในช่วงที่ 2 เป็นช่วงเสวนาในหัวข้อ “ถอดรหัส เจาะพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์การลงทุนคนรุ่นใหม่” ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรในมุมมองของนักวิชาการในภาคธุรกิจ (ดร. สันติธาร เสถียรไทย และ ดร. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์) รวมทั้งวิทยากรในมุมมองของผู้ประกอบธุรกิจใกล้ชิดกับนักลงทุน (คุณบรรณรงค์ พิชญากร และคุณพจน์ หะริณสุต) มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองจากประสบการณ์จริง
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 11/2564 : Theme การลงทุนตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก (SET-Global Play)
- เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวได้ดีจากสถานการณ์โควิด เช่น GDP ของสหรัฐฯ คาดว่าจะเติบโตได้ 6.0% ในปีนี้ และ 5.2% ในปีหน้า และภาคการส่งออกของไทยก็ฟื้นตัวได้ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องและฟื้นตัวได้ 15.7% ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้
- บริษัทจดทะเบียนได้ขยายธุรกิจไปยังภูมิภาคต่างๆ และมีรายได้จากต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง จากการพัฒนาฐานข้อมูลโดยทีม SET Research พบว่า ในปี 2563 มี 312 บริษัทจดทะเบียนได้เปิดเผยรายได้จากต่างประเทศโดยรวมสูงถึง 2.96 ล้านล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนรายได้ต่างประเทศสูงคือ กลุ่มเกษตรและอาหาร กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม และกลุ่มทรัพยากร
- จากการทดลองสร้าง portfolio การลงทุนในบริษัทที่มีสัดส่วนรายได้ต่างประเทศสูง (SET-Global Play) พบว่าให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวหลังโควิด
- SET-Global Play Large Cap คัดเลือก 20-30 หุ้นขนาดใหญ่จาก 10 sectors ที่มีรายได้จากต่างประเทศสูง โดยเฉลี่ยแล้วมีสัดส่วนรายได้ต่างประเทศสูงถึง 64% และให้ผลตอบแทนรวม 25% ตั้งแต่ต้นปี (YTD)
- SET-Global Play Mid & Small: คัดเลือก 20-30 หุ้นขนาดกลางและเล็กจาก 10 sectors ที่มีรายได้จากต่างประเทศสูง โดยเฉลี่ยแล้วมีสัดส่วนรายได้ต่างประเทศสูงถึง 56% และให้ผลตอบแทนรวม 55% ตั้งแต่ต้นปี (YTD)
- ผลตอบแทนของ SET-Global Play ในระยะยาวมีความผันผวนตามสถานการณ์การค้าโลกและภาคการส่งออกของประเทศ
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 10/2564 : เปิดพอร์ตการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ
จากการศึกษาข้อมูลการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2564 ของบริษัทจดทะเบียนจำนวน 756 บริษัท ซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมกว่า 18.7 ล้านล้านบาท หรือ 97.64% ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมทั้งตลาด พบว่า
- ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2564 นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยรวมกว่า 5.09 ล้านล้านบาท สูงสุดในรอบ 3 ปี เพิ่มขึ้น 35.5% จากปีก่อน ที่สำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาหลักทรัพย์ และการถือครองหุ้นของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนเข้าซื้อขายใหม่ โดยมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศ คิดเป็น 27.16% ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมทั้งตลาด
- อุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มทรัพยากร มูลค่าถือครองหุ้นรวม 3.07 ล้านล้านบาท คิดเป็น 60.5% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ ขณะที่ “กลุ่มบริการ” ที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุดในปีก่อน ลดลงมาอยู่อันดับที่ 4 ในปีนี้
- หมวดธุรกิจที่นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG) 810,673 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 794,750 ล้านบาท และหมวดธนาคาร (BANK) 706,615 ล้านบาท โดย 3 หมวดธุรกิจนี้มีมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 2.31 ล้านล้านบาท หรือ 45.6% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ
- 68.0% ของมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศเป็นการถือครองหุ้นที่อยู่ในองค์ประกอบของ MSCI Thailand Index ลดลงจากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 72.6%
- นักลงทุนต่างประเทศที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด 10 สัญชาติแรกพบว่า 7 อันดับแรกเหมือนปีก่อน ขณะที่อันดับที่ 8 - 10 มีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน นักลงทุนจากสหราชอาณาจักรมีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง สวิสเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มอริเชียส เคย์แมน ไอส์แลนด์ ไต้หวัน และบริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 9/2564 : Theme การลงทุนในหุ้นเติบโต (Growth) และหุ้นคุณค่า (Value)
- หุ้นเติบโต (growth) และ หุ้นคุณค่า (value) เป็น theme การลงทุนในแนวทาง factor investing หรือ style การลงทุนอย่างหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนในหลายๆ ตลาด โดยหุ้น growth มักเป็นธุรกิจที่อาจเติบโตได้สูง หุ้นมีมูลค่าสูง (อัตราส่วนราคาต่อกำไรสูง และอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชีสูง) และจ่ายเงินปันผลน้อย ในขณะที่หุ้น value มักเป็นธุรกิจที่ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง เติบโตอย่างสม่ำเสมอ จ่ายปันผลได้สูง และหุ้นยังมีมูลค่าไม่สูง
- จากการทดลองสร้าง portfolio ของหุ้นเติบโต (SET-GROWTH) และหุ้นคุณค่า (SET-VALUE) โดยคัดเลือกและจัดกลุ่มหุ้นจาก ราคาต่อกำไร (P/E) ราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) อัตราเงินปันผล (dividend yield) การเติบโตของกำไรระยะสั้นและระยะยาว การเติบโตของยอดขาย พบว่าในระยะยาวประมาณ 10 ปี SET-GROWTH ให้ผลตอบแทนรวม 151% ซึ่งสูงกว่า SET-VALUE ที่ให้ผลตอบแทนรวมที่ 111% แต่มีความผันผวนต่ำกว่าเล็กน้อย โดยค่าเฉลี่ยระยะยาวของผลตอบแทนส่วนต่างระหว่าง SET-GROWTH และ SET-VALUE อยู่ที่ประมาณ 2.1% ต่อปี
- ในช่วงต้นปี 2021 portfolio ของ SET-GROWTH มีน้ำหนักการลงทุนสูงในหุ้นกลุ่มพาณิชย์ กลุ่มการเงิน กลุ่มอาหาร และกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีค่า P/E อยู่ที่ 24.41 เท่า P/BV อยู่ที่ 4.59 เท่า และ dividend yield ที่ 2.15% ในส่วนของ SET-VALUE มีน้ำหนักการลงทุนสูงในหุ้นกลุ่มธนาคาร กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มีค่า P/E อยู่ที่ 11.99 เท่า P/BV อยู่ที่ 1.54 เท่า และ dividend yield ที่ 4.69%
- ผลตอบแทนโดยเปรียบเทียบ (relative performance) ของ SET-GROWTH เมื่อเทียบกับ SET-VALUE มีความผันผวนในแต่ละช่วงเวลา โดยเคลื่อนไหวในทางตรงข้ามกับอัตราดอกเบี้ยระยะยาว นั่นคือเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นจะส่งผลเชิงลบต่อหุ้นเติบโตมากกว่าหุ้นคุณค่า โดยอาจเป็นเพราะอัตราคิดลด (discount rate) ที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อโครงสร้างกระแสเงินสดของหุ้นเติบโตมากกว่า
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 8/2564 : ส่องแรงงานของบริษัทจดทะเบียนใน SET และ mai ท่ามกลางวิกฤต COVID-19
- ณ ปี 2563 บริษัทจดทะเบียนใน SET และ mai มีจำนวน 743 บริษัท เพิ่มขึ้น 17 บริษัทจากปีก่อนหน้า โดยพบว่ามีจำนวนพนักงานรวมทั้งสิ้น 1,608,495 คน คิดเป็นร้อยละ 4.2 ของจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนพนักงานเพิ่มขึ้น 130,643 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 จากปีก่อนหน้า โดยมีพนักงานจากบริษัทจดทะเบียนใน SET 1,542,749 คน และพนักงานจากบริษัทจดทะเบียนใน mai 65,746 คน และหากพิจารณาเป็นค่าเฉลี่ยการจ้างงานต่อบริษัท พบว่าค่าเฉลี่ยการจ้างงานของบริษัทจดทะเบียนใน SET และ mai เท่ากับ 2,165 คน ขณะที่ค่าเฉลี่ยการจ้างงานของบริษัทที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ทั้งหมดในประเทศไทย เท่ากับ 66 คน
- เมื่อพิจารณาเฉพาะบริษัทจดทะเบียนใน SET และ mai ที่รายงานข้อมูลจำนวนพนักงานต่อเนื่องติดต่อกัน 3 ปี ตั้งแต่ปี 2561-2563 จำนวน 619 บริษัท พบว่า ณ สิ้นปี 2563 บริษัทจดทะเบียนใน SET และ mai มีจำนวนพนักงานรวมทั้งสิ้น 1,263,634 คน ลดลงจากปีก่อนหน้า 119,109 คน ซึ่งประกอบด้วยพนักงานจากบริษัทจดทะเบียนใน SET เท่ากับ 1,207,712 คน ลดลง 115,449 คน และเป็นพนักงานจากบริษัทจดทะเบียนใน mai เท่ากับ 55,922 คน ลดลง 3,660 คนจากปีก่อนหน้า ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 และการแยกธุรกิจบางส่วนออกเป็นบริษัทย่อย ทำให้จำนวนพนักงานในบริษัทเดิมลดลง
- ในปี 2563 การจ้างงานของบริษัทในกลุ่มทรัพยากรและกลุ่มเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า โดยบริษัทในกลุ่มทรัพยากรมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มากที่สุด เนื่องจากบางบริษัทมีผลประกอบการดี มีกำไรต่อเนื่อง และบางบริษัทได้ขยายการลงทุนไปยังธุรกิจใหม่ๆ เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานสะอาด และยานยนต์ไฟฟ้า ส่งผลให้บริษัทเหล่านี้มีความต้องการพนักงานเพิ่มขึ้น
- เมื่อพิจารณาการจ้างงานของบริษัทในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารพบว่าลดลงเป็นสัดส่วนมากที่สุด ซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ประกอบกับบางบริษัทมีธุรกิจที่มียอดขายลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้บางกิจการต้องปิดสาขา หรือหยุดดำเนินกิจการในบางส่วน เป็นเหตุให้บริษัทจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 7/2564 : ทำความรู้จักกับนักลงทุนบุคคลใหม่ในตลาดหุ้นไทย
- เพียงช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564 มีนักลงทุนบุคคลใหม่ที่เริ่มเข้าซื้อขายหุ้นเป็นครั้งแรกสูงถึง 151,653 คน คิดเป็นมากกว่า 1 เท่าตัวจากยอดรวมทั้งปีก่อนหน้า และเป็นเกือบ 20% ของนักลงทุนบุคคลทั้งหมดที่ซื้อขายหุ้นในปีนี้ โดยนักลงทุน Gen Y เป็นกลุ่มที่มีบทบาทสูงที่สุด คิดเป็น 61% ของจำนวนบุคคลใหม่ทั้งหมด และเป็น 54% ของมูลค่าซื้อขายของบุคคลใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้ ในปี 2564 ถือเป็นครั้งแรกที่กลุ่มนักลงทุน Gen Y มีสัดส่วนมูลค่าซื้อขายสูงเกินกว่าครึ่งหนึ่ง จากเดิมที่อยู่ระดับใกล้เคียงหรือน้อยกว่า Gen X
- ในด้านพฤติกรรมการเลือกลงทุนของนักลงทุนบุคคลใหม่ในปีนี้ พบว่าครึ่งหนึ่งเป็นนักลงทุนแบบ Fundamental Group ที่นิยมซื้อขายหุ้นพื้นฐานขนาดใหญ่หรือหุ้นที่ให้ปันผลสูงเป็นหลัก นอกจากนี้ หากพิจารณาในเชิงขนาดของนักลงทุน พบว่า 3 ใน 4 เป็นนักลงทุนขนาดเล็กที่ซื้อขายโดยเฉลี่ยไม่เกิน 1 แสนบาทต่อเดือน ทั้งนี้ ระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ซึ่งสะท้อนผ่านประเภทหุ้นที่เลือกซื้อขาย และขนาดการซื้อขายของนักลงทุน จะสอดคล้องตาม life cycle ในแต่ละ generation
- นักลงทุนบุคคลใหม่เกือบทั้งหมดเลือกใช้ Internet เป็นช่องทางส่งคำสั่งซื้อขายหลัก เพื่อตอบโจทย์ความคล่องตัวในการลงทุน และแม้แต่กลุ่มสูงอายุยังหันมาใช้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
- ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนบุคคลใหม่อาจหยุดซื้อขายไปบ้างในปีต่อๆ มา อย่างไรก็ดี พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งได้เรียนรู้ภาวะตลาดหุ้นและการลงทุน และยังคงซื้อขายเติบโตต่อเนื่องได้ในระยะยาว
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 6/2564 : SET CEO SURVEY: มุมมอง CEO ต่อวิกฤต COVID-19
- การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนไทยรุนแรงกว่าเหตุการณ์อื่นๆ ที่ผ่านมาในรอบ 10 ปี
- ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยมองว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2564
- ระยะเวลาในการฟื้นตัวของผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนขึ้นอยู่กับการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตลอดจนการเร่งสร้างการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ โดย CEO ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 - 3 ปีในการฟื้นตัวสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาด
- บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มีการนำนโยบาย Work From Work (WFH) มาใช้ และคาดว่าจะใช้นโยบายนี้ต่อเนื่องไปอีก 3 - 6 เดือน ซึ่งบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่จะทบทวนการใช้นโยบายทุก 1 - 2 สัปดาห์ โดยมีเงื่อนไขในการพิจารณาให้พนักงานเข้าทำงาน ดังนี้
o มีความคืบหน้าในการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity)
o จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันต่ำกว่า 100 คน
o การขอความร่วมมือตามนโยบายและมาตรการซึ่งประกาศโดยศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)
- จากสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนมีการปรับตัวใช้ระบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น แต่บางงานติดขัดเรื่องกฏระเบียบภาครัฐที่ปรับตัวไม่ทัน ขอให้ภาครัฐพัฒนากฎเกณฑ์และกระบวนงานรองรับการทำงานรูปแบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 5/2564 : จองหุ้น IPO เลือกรับหุ้นแบบไหนดี: ใบหุ้น หรือ โอนหุ้นเข้าบัญชี
“เมื่อผู้ลงทุนจองซื้อหุ้นครั้งต่อไป เลือกรับหุ้นโดยนำฝากในบัญชี โดยเลือกฝากในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ หรือบัญชีผู้ออกหลักทรัพย์ เพื่อลดภาระดูแลใบหุ้น เพื่อเตรียมพร้อมซื้อขายได้รวดเร็วกว่าการรับใบหุ้น”
- จากประเด็นคำถามของผู้ลงทุนเกี่ยวกับทางเลือกในการรับจัดสรรหุ้นจากการจองซื้อหุ้นIPO ว่า รับเป็นใบหุ้น นำหุ้นเข้าฝากในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ หรือ นำหุ้นฝากในบัญชีผู้ออกหลักทรัพย์ แต่ละทางเลือกมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งสรุปได้ดังนี้
- การนำหุ้นเข้าฝากในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์อยู่แล้ว และไม่ต้องการดูแลรักษาใบหุ้น ซึ่งผู้ลงทุนหรือบุคคลทั่วไปสามารถเปิดซื้อขายหลักทรัพย์เตรียมไว้แม้ยังไม่ได้ทำการซื้อขายในขณะนั้น ข้อดีของวิธีนี้คือ หุ้นพร้อมในบัญชี พร้อมซื้อขายได้ทันทีเมื่อมีการเปิดให้ทำการซื้อขายหุ้นนั้นๆ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และในระยะยาว ผู้ลงทุนไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลรักษาใบหุ้นอีกด้วย
- การนำหุ้นเข้าฝากในบัญชีผู้ออกหลักทรัพย์ หรือ บัญชี 600 เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ยังไม่มีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ต้องการลงทุนระยะยาว และไม่ต้องการดูแลรักษาใบหุ้น ข้อดีของวิธีนี้คือ หุ้นพร้อมในบัญชีพร้อมโอนไปยังบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ใช้เวลาไม่นานสามารถซื้อขายได้ และในระยะยาว ผู้ลงทุนไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลรักษาใบหุ้น
- การรับใบหุ้น เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่เน้นการถือครองหุ้นระยะยาว มีความสามารถและความระมัดระวังในการดูแลรักษาใบหุ้น โดยผู้ลงทุนสบายใจหรือภาคภูมิใจในการได้ถือครองใบหุ้น แต่อาจพลาดโอกาสในการสร้างกำไรจากการซื้อขายในช่วงสัปดาห์แรกที่หุ้นนั้นๆ เริ่มซื้อขาย และกรณีที่ผู้ลงทุนถือครองใบหุ้นระยะยาวอาจมีค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงมากขึ้น อาทิ ค่าใช้จ่ายเช่าตู้นิรภัย ใบหุ้นชำรุด ใบหุ้นสูญหาย เป็นต้น
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 4/2564 : ส่องนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยในรอบ 10 ปี (2554 - 2563)
“ในช่วง 10 ปีทีผ่านมา นักลงทุนต่างประเทศยังให้ความสนใจตลาดหุ้นไทย โดยถือครองหุ้นในระยะยาว ผ่านการถือครอง foreign shares ขณะที่ทำกำไรระยะสั้นผ่านการซื้อขาย local shares และ NVDR เพราะมีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง”
- ณ สิ้นปี 2563 นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทย (SET และ mai) รวมกว่า 4.49 ล้านล้านบาท เพิ่ม 68.2% จากปี 2554 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการปรับตัว SET Index ที่เพิ่มขึ้น 35.0% และมากกว่าดัชนีผลตอบแทนรวม (Total Return Index: TRI) ของดัชนี SET50 ที่เพิ่มขึ้น 63.0% แม้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2554 - 2563) นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิกว่า 850,000 ล้านบาทก็ตาม สะท้อนว่า นักลงทุนต่างประเทศยังคงอยู่ในตลาดหุ้นไทย
- การขายสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศ เป็นการขายเพื่อทำกำไรระยะสั้น โดยขายสุทธิใน local shares สูงถึง 2.3 ล้านล้านบาท ขณะที่ขายสุทธิใน foreign shares ที่เป็นทางเลือกการลงทุนระยะยาวที่ได้ทั้งสิทธิออกเสียง (voting right) และสิทธิประโยชน์ทางการเงิน (financial benefits) เพียง 80,833 ล้านบาทเท่านั้น โดยมีสาเหตุหลักคือการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่จากนักลงทุนต่างประเทศเป็นนักลงทุนไทย
- นอกจากนี้ ยังพบว่า นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิสะสมต่อเนื่องใน NVDR ทุกปีตลอดช่วง 10 ปี รวมมูลค่าซื้อสุทธิสูงถึง 1.6 ล้านล้านบาท เนื่องจาก NVDR ที่เป็นทางเลือกที่นักลงทุนต่างประเทศจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงิน (financial benefits) ครบถ้วน และมีสภาพคล่องในการซื้อขายเช่นเดียวกับ local shares
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 3/2564 หุ้นไทยโดดเด่นในดัชนีด้านความยั่งยืน
- บริษัทจดทะเบียนไทยมีความโดดเด่นมากในด้านความยั่งยืนและได้รับการยอมรับในระดับสากล รวมถึงในการจัดทำดัชนี Dow Jones Sustainability Index (DJSI) โดยในปี 2563 มี 11 บริษัทจดทะเบียนไทยได้รับคัดเลือกให้อยู่ในดัชนีด้านความยั่งยืนระดับโลก DJSI World และมี 21 บริษัทจดทะเบียนไทยอยู่ใน DJSI EM (Emerging Market) ซึ่งมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างต่อเนื่องถึง 7 ปี และล่าสุดใน Sustainability Yearbook 2021 ที่จัดทำโดย S&P Global มี 11 บริษัทไทยได้รับรางวัลระดับ Gold Class ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกประเทศ
- แนวคิดด้านความยั่งยืนมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการตัดสินใจลงทุน ในปี 2563 มีนักลงทุนสถาบันมากกว่า 3,000 แห่ง ลงนามสนับสนุนหลักการ Principles for Responsible Investment (PRI) โดยองค์การสหประชาชาติ และมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การจัดการรวมมากกว่า 100 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ
- การลงทุนที่เน้นความยั่งยืนยังอาจนำมาซึ่งผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย โดยผลการทดลองจัด portfolio ลงทุนในบริษัทจดทะเบียนไทยตามดัชนี DJSI EM ในช่วงประมาณ 5 ปีที่ผ่านมาแบบกระจายน้ำหนักลงทุนเท่าๆ กันทุกหลักทรัพย์ พบว่า portfolio ดังกล่าวให้ผลตอบแทนรวมสะสม 51% ซึ่งมากกว่าดัชนี SET100 TRI ที่ใช้เปรียบเทียบอยู่ 13
- หลักทรัพย์ของบริษัทที่มีความโดดเด่นด้านความยั่งยืนยังอาจได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้นอีกด้วย โดยภายหลังจากเข้าร่วมดัชนี DJSI EM สภาพคล่องหรือมูลค่าซื้อขายโดยเฉลี่ยของหลักทรัพย์ไทยในดัชนีดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 2/2564 ความน่าสนใจในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวอักษรจาก MD&A ของบริษัทจดทะเบียนไทย
- งานวิจัยชิ้นนี้ได้รวบรวมแหล่งข้อมูลเอกสารที่เปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงาน (financial disclosure) ที่เป็นภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2012 – 2018 และใช้เทคนิคด้าน machine learning ในการสกัดข้อมูลที่บอกถึงหัวข้อหรือธีมหลักที่ผู้บริหารใช้ในเอกสารคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) ของ 49 บริษัทจดทะเบียน รวมกว่า 1,400 ฉบับ จากนั้นเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้คำนวณหา textual sentiment เพื่อหาว่าในแต่ละหัวข้อนั้นผู้บริหารเขียน MD&A ในเชิงบวกหรือลบ
- ผลการศึกษาพบว่าคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) มีข้อมุลสำคัญที่ผู้ลงทุนสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุนควบคู่กับการวิเคราะห์ตัวเลขผลประกอบการโดยทัศนคติผู้เขียนในแต่ละหัวข้อสามารถอธิบายทิศทางการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นได้ในระยะสั้น
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 1/2564 เรื่อง “ประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ด้วย P/E และ Cyclically Adjusted P/E”
- แนวคิดในการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ ความต้องการทราบมูลค่าที่แท้จริง (intrinsic value) ของหลักทรัพย์ เปรียบเทียบกับราคาตลาด (market price) เพื่อเป็นข้อมูลใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้ลงทุน
- โดยทั่วไปแล้ว แนวทางสำหรับการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมีด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่ การประเมินมูลค่าหลักทรัพยด้วยวิธีคิดลดกระแสเงินสด และการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ด้วยวิธีสัมพัทธ์
- การประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ด้วยวิธีสัมพัทธ์ เช่น อัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E) ถือได้ว่าเป็นวิธีการประเมินมูลค่าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จากความสะดวกในการตีความ และประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย จนถูกนำไปพัฒนาต่อยอด ดังเช่น ตัวอย่างของ Robert J. Shiller ที่ได้พัฒนาเครื่องมือที่เรียกว่า Cyclically Adjusted PE หรือ CAPE โดยการใช้ค่าเฉลี่ยของกำไรต่อหุ้นย้อนหลัง 10 ปีปรับด้วยเงินเฟ้อ เพื่อลดความผันผวนจากการแกว่งตัวของกำไรในระยะสั้น
- นอกจากนั้น ยังถูกนำมาพัฒนาต่อยอดในการวัดระดับราคาว่าสูงหรือต่ำของดัชนีหลักทรัพย์เมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยโดยนำผลตอบแทนจากตลาดหุ้น (earnings yield) ที่คำนวนจากการกลับส่วน P/E มาหักลบด้วยผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี จะได้ค่าที่เรียกว่า Earnings yield gap (EYG) และ Excess CAPE yield (ECY) ในแนวทางของ Shiller
- ราคาซื้อขายในเดือน ม.ค. 2564 พบว่า Shiller P/E หรือ CAPE (และ ECY) ซึ่งเทียบราคาหุ้นกับกำไรระยะยาว อาจให้ภาพที่แตกต่างจาก P/E (และ EYG) ซึ่งเทียบราคาหุ้นกับกำไรระยะสั้นที่อาจผันผวนมากกว่า เช่น ในช่วงเดือนมกราคม ตลาดหุ้นซื้อขายที่ P/E ค่อนข้างสูง แต่ซื้อขายที่ CAPE ยังไม่สูง
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 14/2563 เรื่อง “เปิดพอร์ตการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทย”
จากข้อมูลการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศของบริษัทจดทะเบียน 695 บริษัทในตลาดหุ้นไทย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 ซึ่งมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมกว่า 13 ล้านล้านบาท หรือ 98.20% ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมทั้งตลาด
- ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยกว่า 3.76 ล้านล้านบาท ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มบริการ กลุ่มทรัพยากร และกลุ่มธุรกิจการเงิน มีมูลค่าถือครองหุ้นรวม 2.14 ล้านล้านบาท คิดเป็น 56.9% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ
- นักลงทุนต่างประเทศถือครองหุ้นในทุกหมวดธุรกิจในตลาดหุ้นไทย โดย 3 หมวดธุรกิจที่นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด ได้แก่ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG) 697,004 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดธนาคาร (BANK) 565,840 ล้านบาท และหมวดเทคโนโลยีและการสื่อสาร (ICT) 486,596 ล้านบาท โดย 3 หมวดธุรกิจนี้มีมูลค่าการถือครองหุ้นรวม 1,719,440 ล้านบาท หรือ 46.5% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ
- 72.6% ของมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศเป็นการถือครองหุ้นที่อยู่ในองค์ประกอบของ MSCI Thailand Index
- จากข้อมูลสัญชาติของนักลงทุนต่างประเทศที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุด 10 อันดับแรก พบว่า นักลงทุนจากสหราชอาณาจักร และสิงคโปร์ ยังคงอยู่ในอันดับที่ 1 และ 2 อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อันดับ 3 และ 4 ได้แก่ นักลงทุนจากฮ่องกงและสวิสเซอร์แลนด์ที่ขยับขึ้นมาจากอันดับที่ 4 และ 5 ในปีก่อน ขณะที่นักลงทุนจากสหรัฐอเมริกาลดจากอันดับ 3 มาอยู่ที่อันดับ 5 ตามมาด้วยนักลงทุนจากญี่ปุ่น, มอริเชียส, บริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์, เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 13/2563 ความน่าสนใจของตลาดหุ้นไทย ในสายตานักลงทุนต่างประเทศ
- นักลงทุนต่างประเทศสนใจตลาดหุ้นไทย มีนักลงทุนสัญชาติใหม่ๆ เข้ามาในตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง โดยจากข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 มีนักลงทุนต่างประเทศ 116 สัญชาติ เพิ่มขึ้นสุทธิ 2 สัญชาติ ในตลาดหุ้นไทย
- ·ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นไทยรวม 3.76 ล้านล้านบาท ลดลง 22.2% จากเดือนพฤษภาคม 2562 ที่สำคัญจากราคาหลักทรัพย์ที่ปรับตัวลดลง
o มูลค่าการถือครองหุ้นไทยของนักลงทุนต่างประเทศลดลงในระดับใกล้เคียงกับ SET100 index ที่ลดลงถึง 20.6% ทั้งนี้เนื่องจากมูลค่าการถือครองหุ้นส่วนใหญ่ (82%) เป็นหลักทรัพย์ในกลุ่ม SET100
o นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยกว่า 291,480 ล้านบาท ในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 - สิงหาคม 2563 โดยขายทำกำไรระยะสั้นใน local share 364, 324 ล้านบาท และขายสุทธิ foreign share ที่ถือไว้เพื่อลงทุนระยะยาวเพียง 9,474 ล้านบาท ในทางกลับกันนักลงทุนต่างประเทศซื้อหุ้นสะสมผ่าน NVDR กว่า 82,228 ล้านบาท สะท้อนนักลงทุนต่างประเทศทำกำไรระยะสั้นในตลาดหุ้นไทย ขณะที่เชื่อมั่นบริษัทจดทะเบียนไทยยังคงถือหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาว
o เมื่อพิจารณาการซื้อขายรายหลักทรัพย์ พบว่า นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิใน 2,215 หลักทรัพย์ จาก 7,179 หลักทรัพย์ที่นักลงทุนต่างประเทศซื้อขาย
- นอกจากการซื้อขายในตลาดหุ้นไทย พบนักลงทุนต่างประเทศใช้สิทธิสะสมหุ้นเพิ่มเติมผ่านกิจกรรมระดมทุน ทั้งการจองซื้อหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายใหม่ การใช้สิทธิจองหุ้นซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนเดิม และการแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิเป็นหุ้นสามัญ เป็นต้น
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 12 /2563 ส่องตลาดหุ้นไทย ผ่านโครงสร้างผู้ถือหุ้น
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 11/2563 ข้อมูลด้าน ESG สำหรับการลงทุนอย่างยั่งยืน (ESG Investing)
- แนวคิดในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืนในระยะยาว ไม่หวังเพียงผลกำไรในระยะสั้น เริ่มเข้ามามีบทบาทและได้รับความนิยมมากขึ้นในยุคปัจจุบัน โดยกรอบแนวคิดหลักที่ได้รับความนิยมคือการคำนึงถึงปัจจัยด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance: ESG) ซึ่งจากการพัฒนาแนวคิดในการดำเนินธุรกิจนำไปสู่การขยายตัวอย่างรวดเร็วในมิติด้านการลงทุน
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีการเปิดเผยข้อมูลผลการประเมิน ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียน อยู่บนเว็บไซต์ www.settrade.com โดยมีทั้งข้อมูลผลการประเมินโดยสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ข้อมูลรายชื่อบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับคัดเลือกให้อยู่ใน “รายชื่อหุ้นยั่งยืน” หรือ THSI หรือข้อมูลรายชื่อบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในดัชนี DJSI
- นอกจากนั้น ยังมีผู้ให้บริการจัดอันดับ Rating ด้าน ESG ซึ่งเป็นพันธมิตรระดับโลกที่ให้บริการประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (sustainability rating agencies) ของธุรกิจทั่วโลก อย่าง Arabesque และ Vigeo อีกด้วย
- การศึกษานี้ได้นำข้อมูลคะแนนจากบริษัทที่เป็นผู้ให้บริการจัดอันดับ rating ด้าน ESG มาทำการศึกษา โดยจัดกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนซึ่งคัดเลือกเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีคะแนน ESG ในระดับสูง พบว่าให้ผลตอบแทนรวมสูงกว่าดัชนีอ้างอิง (SET100 TRI)
- นอกจากนี้ยิ่งเกลี่ยน้ำหนักจากหลักทรัพย์ที่ได้คะแนน ESG น้อยกว่า ไปให้กับหลักทรัพย์ที่มีคะแนน ESG มากกว่า จะยิ่งทำให้ให้ผลตอบแทนรวมสูงกว่าการจัดกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนที่ไม่มีการเกลี่ยน้ำหนัก ดังนั้นผู้ลงทุนอาจให้ความสนใจ และทำความเข้าใจข้อมูลด้าน ESG เพื่อประกอบการลงทุนอย่างยั่งยืน
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 10/2563 Theme การลงทุนในหุ้นความผันผวนต่ำ (SET Low Volatility)
- เรื่องราว (theme) การลงทุนในหุ้นที่มีความผันผวนต่ำเพื่อลดความเสี่ยงของกลุ่มหลักทรัพย์ที่ลงทุน(portfolio) ได้รับความสนใจมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เนื่องจากมีความน่าสนใจอยู่หลายประการ เช่น การจัด portfolio ที่เน้นหุ้นที่มีความผันผวนต่ำนั้นมีลักษณะเป็น ‘rule-based’ ซึ่งกลยุทธ์นี้อาจไม่จำเป็นต้องพึ่งพาวิจารณญาณของผู้จัดการกองทุนในการเลือกหุ้น รวมถึงหลีกเลี่ยงอคติในการลงทุนที่เป็นข้อผิดพลาดโดยธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งการคัดเลือกหุ้นเข้า portfolio นั้นใช้ข้อมูลจากค่าความผันผวนในอดีตเท่านั้น อีกทั้งมีผลการศึกษาจำนวนหนึ่งพบว่ากลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่มีความผันผวนต่ำอาจให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าในบางช่วงเวลาด้วย
- การสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนในหุ้นที่มีความผันผวนต่ำนั้นไม่เพียงแต่คัดเลือกหุ้นที่มีความผันผวนต่ำเข้ามาอยู่ใน portfolio เท่านั้น แต่ยังให้น้ำหนักการลงทุนในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นสำหรับหุ้นที่มีความผันผวนต่ำกว่าอีกด้วย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำให้ความผันผวนโดยรวมของกลุ่มหลักทรัพย์ที่ลงทุนมีค่าลดลงหรือต่ำกว่าความผันผวนโดยรวมของตลาด
- ผลตอบแทนของ SET Low Volatility ค่อนข้างมีความสม่ำเสมอในแง่ของผลตอบแทนส่วนเกินจากผลตอบแทนดัชนีอ้างอิง (Alpha) ซึ่งเป็นบวกถึง 8 ปีจาก 10 ปีย้อนหลัง ดังที่แสดงในภาพที่ 4 (แกนขวา) อีกทั้งในปีที่ดัชนีผลตอบแทนรวมของตลาดมีค่าติดลบ ( ได้แก่ ปี 2556, 2558, 2561 รวมถึง 2563(YTD)) การลงทุนในหุ้นกลุ่ม SET Low Volatility ยังให้ผลตอบแทนรวมที่สูงกว่าในทุกช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย อาจจะพอชี้ให้เห็นว่า theme การลงทุนที่เน้นการลดความผันผวนสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าในช่วงที่ตลาดมีความเสี่ยงในทิศทางขาลงได้
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 9/2563 Theme การลงทุนในเรื่องจำเป็น (SET Essentials)
- แนวคิดในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืนในระยะยาว ไม่หวังเพียงผลกำไรในระยะสั้น เริ่มเข้ามามีบทบาทและได้รับความนิยมมากขึ้นในยุคปัจจุบัน โดยกรอบแนวคิดหลักที่ได้รับความนิยมคือการคำนึงถึงปัจจัยด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance: ESG) ซึ่งจากการพัฒนาแนวคิดในการดำเนินธุรกิจนำไปสู่การขยายตัวอย่างรวดเร็วในมิติด้านการลงทุน
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีการเปิดเผยข้อมูลผลการประเมิน ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียน อยู่บนเว็บไซต์ www.settrade.com โดยมีทั้งข้อมูลผลการประเมินโดยสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ข้อมูลรายชื่อบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับคัดเลือกให้อยู่ใน “รายชื่อหุ้นยั่งยืน” หรือ THSI หรือข้อมูลรายชื่อบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในดัชนี DJSI
- นอกจากนั้น ยังมีผู้ให้บริการจัดอันดับ Rating ด้าน ESG ซึ่งเป็นพันธมิตรระดับโลกที่ให้บริการประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (sustainability rating agencies) ของธุรกิจทั่วโลก อย่าง Arabesque และ Vigeo อีกด้วย
- การศึกษานี้ได้นำข้อมูลคะแนนจากบริษัทที่เป็นผู้ให้บริการจัดอันดับ rating ด้าน ESG มาทำการศึกษา โดยจัดกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนซึ่งคัดเลือกเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีคะแนน ESG ในระดับสูง พบว่าให้ผลตอบแทนรวมสูงกว่าดัชนีอ้างอิง (SET100 TRI)
- นอกจากนี้ยิ่งเกลี่ยน้ำหนักจากหลักทรัพย์ที่ได้คะแนน ESG น้อยกว่า ไปให้กับหลักทรัพย์ที่มีคะแนน ESG มากกว่า จะยิ่งทำให้ให้ผลตอบแทนรวมสูงกว่าการจัดกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุนที่ไม่มีการเกลี่ยน้ำหนัก ดังนั้นผู้ลงทุนอาจให้ความสนใจ และทำความเข้าใจข้อมูลด้าน ESG เพื่อประกอบการลงทุนอย่างยั่งยืน
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 8/2563 76% ของบริษัทจดทะเบียนมีกำไรจากการดำเนินงานในไตรมาส 1/2563
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 7/2563 SET CEO Survey (Special Issues): บริษัทจดทะเบียนเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
- ในปี 2563 บริษัทจดทะเบียนไทยต้องเผชิญกับความท้าท้ายจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของบริบทในการดำเนินงานธุรกิจ ที่เสมือนบังคับให้บริษัทจดทะเบียนต้องมีการปรับตัวด้วยอัตราเร่ง ทั้งปัญหาหมอกควันและ PM2.5 ที่ต้องเร่งเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการทำงาน ปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ต้องเร่งพัฒนาธุรกิจออนไลน์ ตลอดจนใช้เทคโนโลยี่เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน และใช้แผนสำรองธุรกิจ (BCP) อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลัง ยังมีปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งที่กำลังรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็คือปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำ
- บริษัทจดทะเบียนมีการติดตามและเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและเตรียมแผนธุรกิจรองรับ 10 เหตุการณ์วิกฤติตามการคาดการณ์ผลกระทบเรียบร้อยแล้ว
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 6/2563 ขับเคลื่อนธุรกิจค้าปลีกด้วยนวัตกรรมในยุค COVID-19
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 5/2563 เมื่อเศรษฐกิจจีนกำลังจะเดินต่อ ธุรกิจไทยจะเดินได้ตาม
หลังจากสถานการณ์ COVID-19 ในจีนคลี่คลาย และกำลังจะเดินหน้ากิจกรรมทางเศรษฐกิจตามปกติในช่วงต้นเดือนเมษายนพร้อมกับการเฝ้าระวังการกลับมาระบาดซ้ำ เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับธุรกิจไทยจำนวนไม่น้อยที่มีความเชื่อมโยงกับจีน โดยกำลังซื้อในประเทศจีนจะกลับสู่ภาวะปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไปซึ่งจะดีต่อผู้ส่งออกสินค้าไปจีน และเมื่อ supply chain ในจีนกลับสู่ภาวะปกติจะเป็นผลดีกับผู้ผลิตในไทยที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบหรือสินค้าจากจีน
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 4/2563 กลุ่มธุรกิจที่ผลตอบแทนรวมปรับลดลงน้อยกว่า SET Index ในช่วง COVID-19
ผู้ลงทุนมองเห็นอนาคตของธุรกิจเหล่านี้แม้ในภาวะวิกฤต ผลตอบแทนรวม (Total return) จากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (รวมการเปลี่ยนแปลงราคาและเงินปันผล) ของกลุ่มธุรกิจดังกล่าวตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบันปรับตัวลดลงน้อยกว่ากว่า SET Index โดยกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มผู้ผลิตอาหาร (ไม่รวมธุรกิจร้านอาหาร) และกลุ่มประกันภัยและประกันชีวิตมีผลตอบแทนรวมลดลงน้อยที่สุด 3 ลำดับแรก
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
CMRI Research Paper 03/2563: ผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO Survey): Economic Outlook ในช่วง 9 เดือนหลังของปี 2563 SET CEO Survey Economic Outlook (Apr – Dec 2020)
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม โดยทั้งธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศต่างทยอยปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2563
- ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO) พบว่า CEO ปรับเปลี่ยนมุมมองอย่างชัดเจน โดยจากผลสำรวจล่าสุด CEO คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2563 จะหดตัว 5% ถึง 10% จากคาดการณ์เมื่อต้นปีที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 2% ถึง 3% และ CEO ส่วนใหญ่คาดว่า 9 เดือนหลังของปี 2563 เศรษฐกิจจะแย่ลง
- CEO คาดว่า ปัจจัยบวกที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนหลังของปี 2563 คือ นโยบายการคลังและการใช้จ่ายภาครัฐ ราคาน้ำมัน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และจีน ขณะที่ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การท่องเที่ยวที่หดตัวและกำลังซื้อที่ลดลง จะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทย
- แนวโน้มอุตสาหกรรมและผลประกอบการคาดว่าจะแย่ลง โดย 65% ของ CEO ที่ตอบแบบสอบถามคาดว่าผลประกอบการปี 2563 จะหดตัว
- การลงทุนในช่วง 9 เดือนหลังมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งก่อน โดยวางแผนชะลอการลงทุนในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ส่งผลให้ 55% ของ CEO ที่ตอบแบบสอบถาม วางแผนขยายการลงทุนในประเทศเพื่อบริหารจัดการ supply chain ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 2/2563 : SET CEO Survey (Special Issue) การรับมือของบริษัทจดทะเบียนต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
- 68% ของบริษัทจดทะเบียนที่ตอบแบบสอบถามได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ COVID-19 โดยเฉพาะในหมวดธุรกิจที่มี ลูกค้า / Supply Chain ที่เกี่ยวข้องกับจีน อาทิ หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หมวดสินค้าอุตสาหกรรม เป็นต้น
- สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อบริษัทจดทะเบียน ในด้านต่างๆ ทั้งด้านผลประกอบการ การบริหารทรัพยากรบุคคลทั้งพนักงาน ลูกค้า และผู้ที่การบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ขณะเดียวกันบางบริษัทสร้างโอกาสทางธุรกิจ
- ปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนกำหนดนโยบายการรับมือเหตุการณ์ COVID-19 ในรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน อาทิ การเพิ่มสัดส่วนการซื้อขายออนไลน์ / ปรับลดค่าบริการ การกำหนดมาตรการป้องกันและบทลงโทษพนักงานในกรณีไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด การเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน อาทิ การทำงานออนไลน์ (work from home) การประชุมทางไกล (Teleconference) การชะลอการรับวัตถุดิบ การลดกำลังการผลิต การวางแผนจัดหาวัตถุดิบเพื่อการผลิต เป็นต้น
- สถานการณ์ COVID-19 ยังไม่กระทบต่อการลงทุนของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ โดย 61% ของบริษัทจดทะเบียนที่ตอบแบบสอบถามยังวางแผนลงทุนตามแผนเดิม ขณะที่ 32% ชะลอการลงทุนออกไปก่อน และอีก 7% รอดูสถานการณ์และเลือกชะลอการลงทุนในบางโครงการ
- 71% ของบริษัทจดทะเบียนที่ตอบแบบสอบถามจะได้รับผลกระทบหากรัฐบาลประกาศยกระดับเป็นระยะที่ 3 และบริษัทจดทะเบียนมีการเตรียมแผน BCP เพื่อรองรับ
- 43% ของบริษัทจดทะเบียนที่ตอบแบบสอบถามคาดว่าธุรกิจจะกลับสู่ภาวะปกติภายใน 1 ไตรมาส หลังจาก WHO ประกาศว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ทั่วโลก โดยบริษัทที่ได้รับผลกระทบน้อยคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวใน 1 เดือน
| Presentation / ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 1/2563 หุ้นใหญ่ของไทยอยู่อันดับที่เท่าไรของโลกในวันที่ตลาดหุ้นทั่วโลกลงหนัก
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 11/2562 :
- CEO คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2562 จะเติบโตในช่วง 2% ถึง 3% ทั้งนี้เศรษฐกิจครึ่งปีหลังของปี 2562 ได้รับแรงสนับสนุนจากปัจจัยภายในประเทศเป็นสำคัญ ทั้งนโยบายการคลังและการใช้จ่ายภาครัฐเสถียรภาพการเมืองไทย และการท่องเที่ยว ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเป็นปัจจัยที่มีความเชื่อมโยงกับต่างประเทศ โดยเฉพาะสถานการณ์เศรษฐกิจโลก สงครามการค้า ค่าเงินบาทหรือการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากทิศทางการค้า
- ทิศทางอุตสาหกรรมของบริษัทจดทะเบียนในครึ่งหลังของปี 2562 คาคว่ามีทิศทางที่แย่ลงเมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งก่อน โดย 42% ของ CEO คาดว่าอุตสาหกรรมของตนจะแย่ลง ตามทิศทางของภาวะเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม 31% คาดว่าอุตสาหกรรมจะปรับดีขึ้นต่อเนื่องจากครึ่งแรกของ 2562
- ด้านการดำเนินงาน 52% ของ CEO คาดว่าผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2562 จะปรับตัวดีขึ้นและรายได้รวมของปี 2562 จะเติบโตมากกว่า 6%โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในหมวดพาณิชย์ หมวดการแพทย์ หมวดประกันภัยและประกันชีวิต เป็นต้น
- ด้านการลงทุน CEO คาดว่าจะรักษาระดับการลงทุนในระดับเดิมในช่วง 12 เดือนข้างหน้า โดยรอดูความชัดเจนของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม พบว่า 50% ของ CEO วางแผนในการขยายการลงทุนในต่างประเทศ เป้าหมายหลักในการลงทุนต่างประเทศยังคงเป็นประเทศในกลุ่มเพื่อนบ้านในอาเซียน ทั้งในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม (CLMV) และอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
- ด้านการส่งออก พบว่า CEO คาดการณ์การส่งออกในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2562 มีการเปลี่ยนทิศทางจากการสำรวจครั้งก่อน โดย 36% คาดว่าจะอยู่ในระดับเดิม ขณะที่ 33% คาดว่าจะแย่ลง
- CEO ส่วนใหญ่มีความกังวลใจมากขึ้นเกี่ยวกับกำลังซื้อภายในประเทศ และมีความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นมากสำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจของคู่ค้าต่างประเทศ โดยขยับมาเป็นอันดับ 2 จากอันดับ 8 ขณะที่ปัญหาขาดแคลนแรงงานมีฝีมือลดลงไปอยู่อันดับ 3
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 10/2562 :
บริษัทจดทะเบียนไทยทำสถิติใหม่ หลังการประกาศรายชื่อบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกที่เป็นองค์ประกอบใน Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2562 โดยมีจำนวน 7 บริษัทที่ได้คะแนนสูงสุดหรือเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนของกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ในช่วงประมาณ 15 ปี (สิ้นปี 2547 - 20 กันยายน 2562) portfolio จำลองที่ประกอบด้วย 20 หลักทรัพย์ไทยใน DJSI คำนวณถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดให้ผลตอบแทน 370% หรือเฉลี่ย 24% ต่อปี ซึ่งสูงกว่า SET Index ที่ให้ผลตอบแทน 274% หรือ 18% ต่อปี
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 9/2562 :
การใช้ Textual Analysis กับคำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ(MD&A)ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย
- การนำเทคโนโลยีด้าน Textual Analysis มาประยุกต์ใช้เพื่อวัดระดับทัศนคติ (sentiment) กับข้อมูลที่เป็นตัวอักษร (text) ในรายงานอธิบายผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนนั้นมีการศึกษาอยู่พอสมควรแล้ว อย่างไรก็ดี งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยชิ้นแรกๆ ในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มานับคำที่มีความหมายในเชิงบวกและลบในคำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ(MD&A)
- จากการศึกษาได้ข้อสรุปว่า textual sentiment ที่วัดได้นั้นมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในอนาคต หรือกล่าวได้ว่าฝ่ายจัดการที่เป็นผู้เปิดเผยข้อมูลนั้นมีมุมมองเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทตัวเองที่ค่อนข้างแม่นยำ อีกทั้งฝ่ายจัดการเหล่านี้พยายามสื่อสารข้อมูลที่มีความสำคัญผ่านช่องทางการรายงานคำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประกอบกับการตัดสินใจลงทุนให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 8/2562 :
เปิดพอร์ตการถือครองหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างประเทศ ปี 2562
- ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.15 ล้านล้านบาท หรือ คิดเป็น 29.97% ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมทั้งตลาด โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจากการการปรับเพิ่มขึ้นของราคาหลักทรัพย์และการซื้อสุทธินักลงทุนต่างประเทศกว่า 54,040 ล้านบาท ในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2562 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การคัดเลือกหลักทรัพย์ในดัชนีของ MSCI และเพิ่ม 4 หลักทรัพย์ไทยใน MSCI Thailand
- กว่า 50% ของมูลค่าการถือครองหุ้น เป็นการถือครองหุ้นในหมวดธนาคาร หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค และหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- นักลงทุนจากสหราชอาณาจักร สิงคโปร์ อเมริกา ยังเป็นนักลงทุนที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุดในตลาดหุ้นไทย 3 อันดับแรก ขณะที่ในปีนี้มีนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทย 114 สัญชาติ เพิ่มขึ้นสุทธิ 4 สัญชาติจากปีที่ผ่านมา
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 7/2562 :
เมื่อเมืองขยายตัว ธุรกิจบริการเพื่อการอุปโภคบริโภคเติบโต
- การขยายตัวของเมืองสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจบริการเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างชัดเจน จากการศึกษาธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า ในช่วงปี 2557-2561 ทั้งสองกลุ่มธุรกิจมีการขยายตัวในเชิงปริมาณซึ่งได้แก่จำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการขยายสาขาในต่างจังหวัด ธุรกิจจ้างงานเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่เติบโตขึ้น นอกจากการเติบโตในเชิงปริมาณแล้ว ความสามารถในการทำกำไรของทั้งสองธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยอัตราส่วนกำไรสุทธิ (net profit margin) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2557-2561 การขยายสาขาและการจ้างงานที่เพิ่มนั้นไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพในการทำกำไรต่อสาขา หรือต่อพนักงานลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 6/2562 :
หุ้นค้าปลีกไทยอยู่อันดับไหนในอาเซียน
- ธุรกิจค้าปลีกไทยไม่ได้เติบโตเฉพาะในประเทศ ปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนไทยในกลุ่มค้าปลีกขยายธุรกิจในต่างประเทศจำนวนมากทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน และมีแผนที่จะขยายธุรกิจในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง สำหรับในอาเซียน บริษัทมีรูปแบบการขยายธุรกิจทั้งการเปิดสาขาใหม่เอง และร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่น
จากศักยภาพในการเติบโตดังกล่าวส่งผลให้หุ้นในกลุ่มค้าปลีกของไทย 6 บริษัทติด10 อันดับหุ้นค้าปลีกอาเซียนที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงที่สุด
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 5/2562 :
การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของบริษัทจดทะเบียนไทย
Executive Summary:
- บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ มีการดำเนินธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไม่มากก็น้อย แต่บริษัทจดทะเบียนไทยยังแสดงศักยภาพในการบริหารความเสี่ยงฯ โดยข้อมูลที่รายงานในงบการเงิน สำหรับปี 2561 พบว่า บริษัทจดทะเบียนไทยจำนวน 226 บริษัท ได้รายงาน “กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน” มีมูลค่ารวมสูงถึง 16,627 ล้านบาท
- เช่นเดียวกันจากรายงานผลประกอบการล่าสุด สำหรับไตรมาส1/2562 พบว่า บริษัทจดทะเบียนไทยจำนวน 211 บริษัท ได้รายงาน “กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน” มีมูลค่ารวมเกือบ 8,800 ล้านบาท
- จากการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนไทย (CEO Survey สำหรับช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562) เกี่ยวกับค่าเงินบาทและการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน พบว่า ผู้บริหารจดทะเบียนเห็นว่าค่าเงินบาทเป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะผู้บริหารในหมวดธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก / นำเข้า หรือ มีการลงทุนในต่างประเทศ อาทิ หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค หมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ และหมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- การใช้เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงหรือโอกาสทางธุรกิจของบริษัท
- ต้นทุนในการบริหารความเสี่ยง ความสะดวกรวดเร็ว และ ขนาดของธุรกรรม เป็นสามปัจจัยหลักที่บริษัทจดทะเบียนประกอบการพิจารณาในการตัดสินใจในการเลือกเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง
- เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง (Hedging tools) ที่บริษัทจดทะเบียนใช้มากที่สุด คือ การบริหารรายได้กับรายจ่ายที่เป็นต่างประเทศให้สอดคล้องกัน (Natural Hedge) และการทำสัญญาซื้อขายต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contracts & Options)
| ดาวน์โหลดเอกสาร / อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 4/2562 :
- การลงทุนในธุรกิจการแพทย์ นอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อผลตอบแทนที่โดดเด่นแล้ว ผู้ลงทุนยังมีส่วนร่วมในการยกระดับบริการทางด้านสุขภาพของไทยในฐานะที่เป็นประเทศเป้าหมายด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในลำดับต้นๆ ของโลก หุ้นกลุ่มบริการทางการแพทย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET) ในปัจจุบันมีจำนวน 23 บริษัทมีผลตอบแทนจากการลงทุนโดดเด่นกว่ามาตรฐานอ้างอิง MSCI World Health Care Net Total Return Index
| ดาวน์โหลดเอกสาร TH / EN |อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 3/2562 :
เรื่อง ผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO Survey): Economic Outlook ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562
Executive Summary:
- ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 จะเติบโตในระดับใกล้เคียงกันกับครึ่งหลังของปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดย 74% ของ CEO คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2562 จะเติบโตในช่วง 3% ถึง 4% โดยปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 ได้แก่ การท่องเที่ยว และการใช้จ่ายภาครัฐ เป็นสำคัญ ขณะที่มองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย
- นอกจากนี้ 82% ของ CEO มองว่า ความคืบหน้าของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายใต้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ “อีอีซี” จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย เช่นเดียวกับการที่สหภาพยุโรป (อียู) ประกาศปลดใบเหลืองการทำประมงที่ผิดกฎหมายและไร้ระเบียบที่ CEO ส่วนใหญ่คาดว่าจะส่งผลดีกับเศรษฐกิจไทย
- อย่างไรก็ตาม CEO ส่วนใหญ่ คาดว่า นโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกา และการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา จะส่งลบต่อเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย การส่งออกของไทย และส่งผลกระทบต่อเนื่องมาถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน
- สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรม พบว่า 42% ของ CEO คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมที่ตนดำเนินการอยู่จะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากช่วงครึ่งหลังของปี 2561 โดย CEO ทุกท่านที่ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในหมวดธุรกิจการเกษตร วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร กระดาษและวัสดุการพิมพ์ บริการรับเหมาก่อสร้าง การท่องเที่ยวและสันทนาการ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คาดการณ์ว่าภาวะอุตสาหกรรมของตนจะดีขึ้น
- ด้านผลประกอบการ พบว่า 59% ของ CEO คาดว่าผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 จะปรับตัวดีขึ้น โดย 55% ของ CEO คาดว่า รายได้รวมของปี 2562 จะเติบโตมากกว่า 6%
- CEO ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับตัวเพื่อรองรับสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการปรับโครงสร้างองค์กรให้รองรับเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น การหาพันธมิตรทางธุรกิจ ขณะเดียวกันบริษัทจดทะเบียนวางแผนการตลาดรูปแบบใหม่ ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า การขยายฐานการตลาดใหม่ทั้งในและนอกประเทศ และวางแผนการตลาดตามลูกค้าแต่ละกลุ่ม
- แนวโน้มการลงทุน พบว่า 61% ของ CEO วางแผนจะขยายการลงทุนในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 พบว่า 58% ของ CEO วางแผนขยายการลงทุนต่างจังหวัด ขณะที่ 48% วางแผนขยายการลงทุนต่างประเทศ
| ดาวน์โหลดเอกสาร TH |อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 2/2562 :
เรื่อง การเพิ่มหลักทรัพย์ในการขายชอร์ตช่วยเสริมสร้างความสะดวกและความโปร่งใสให้ผู้ลงทุนทุกประเภท
Executive Summary:
- ธุรกรรมขายชอร์ตเป็นธุรกรรมที่ตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกอนุญาตให้ทำได้ สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อนุญาตให้กระทำได้มากกว่า 20 ปีแล้ว
- ที่ผ่านมาผู้ลงทุนขายชอร์ตได้เฉพาะหุ้นสามัญ ไม่สามารถนำหลักทรัพย์ NVDR มาทำธุรกรรมขายชอร์ตได้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จึงหารือร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เป็นเป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อสอบถามความเห็น และได้อนุญาตให้นำหลักทรัพย์ NVDR มาขายชอร์ตได้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2562 เป็นต้นไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ลงทุนนำหลักทรัพย์มาทำธุรกรรมในระบบแทนการทำธุรกรรมนอกตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างประเทศ อันจะช่วยให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใสช่วยกระบวนการตรวจสอบดูแลให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
- การปรับเกณฑ์ให้เพิ่มหลักทรัพย์ NVDR ในการขายชอร์ต มีผลกระทบต่อมูลค่าการขายชอร์ตเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยในช่วงวันที่ 3 - 9 เมษายน 2562 พบว่า มูลค่าธุรกรรมการขายชอร์ตเฉลี่ยต่อวัน ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 1,678 ล้านบาท คิดเป็น 4.42% ของมูลค่าการขายหลักทรัพย์รวมทั้งตลาดซึ่งแตกต่างจากการทำธุรกรรมประเภทเดียวกันในอดีตซึ่งอยู่ที่ 3.57% ของมูลค่าการขายหลักทรัพย์รวมทั้งตลาด อย่างไรก็ดีมูลค่าธุรกรรมการขายชอร์ตของหลักทรัพย์ NVDR ในช่วง 4 วันนี้รวม คิดเป็น 0.09% ของมูลค่าถือครองหลักทรัพย์ NVDR ทั้งหมดเท่านั้น
- ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การปรับเพิ่มหลักทรัพย์ NVDR ให้สามารถนำมาทำธุรกรรมขายชอร์ตไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อจำนวนหลักทรัพย์ที่นำมาทำธุรกรรมการขายชอร์ต ในทางกลับกันส่งผลดีต่อมูลค่าการทำธุรกรรมและเป็นการเสริมสร้างความโปร่งใส ในการทำธุรกรรมขายชอร์ต และสามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
| ดาวน์โหลดเอกสาร TH |อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 1/2562 :
เรื่อง โอกาสการลงทุนในธุรกิจ Well-being ไทย
ธุรกิจ Well-being ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market capitalization) รวมกันสูงถึง 5 ล้านล้านบาท คิดเป็น 30% ของมูลค่าตลาดโดยรวม ด้วยศักยภาพของบริษัทจดทะเบียนที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องส่งผลให้หลายบริษัทในหลายธุรกิจเป็นบริษัทขนาดใหญ่ในลำดับต้นๆ ของโลก
| ดาวน์โหลดเอกสาร TH / EN |อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 7/2561:
เรื่อง รายงานพิเศษ: การบริหารจัดการด้านบุคลากรของบริษัทจดทะเบียนไทยจากผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO Survey) ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2561
Executive Summary:
“ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนไทยมีความกังวลใจต่อปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากร โดยเฉพาะการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ และคาดว่าการที่สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและสังคมเด็กเกิดน้อย จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อทั้งเศรษฐกิจไทย กำลังซื้อในประเทศ ตลาดแรงงานและผลประกอบการของบริษัท อย่างไรก็ตาม บริษัทจดทะเบียนไทยเตรียมกลยุทธ์ในการบริหารจัดการด้านบุคลากรไว้รองรับแล้ว อาทิ การพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การปรับปรุงกระบวนงานโดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเพื่อลดขั้นตอนการทำงาน ขณะเดียวกันมีการจัดอบรมเพื่อเพิ่มทักษะที่จำเป็นให้บุคลากร และให้ความสนใจกับการนำแนวคิดเรื่องสมดุลชีวิตและหน้าที่การงาน มาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาบุคลากรในองค์กร”
- CEO ส่วนใหญ่หรือเกือบทุกอุตสาหกรรมมีความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ โดยเฉพาะในหมวดธุรกิจที่ต้องมีความชำนาญเฉพาะด้าน ได้แก่ 1) กลุ่มอุตสาหกรรมหนัก อาทิ หมวดธุรกิจยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เหมืองแร่ 2) กลุ่มการเงิน ทั้งหมวดธนาคาร หมวดเงินทุนและหลักทรัพย์ หมวดประกันภัยและประกันชีวิต 3) กลุ่มบริการ ได้แก่ หมวดการแพทย์ หมวดขนส่งและโลจิสติกส์ และ 4) บริษัทจดทะเบียนในหมวดหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดเครื่องใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน
- แนวโน้มการจ้างงานในช่วง 1 ปีข้างหน้า CEO ส่วนใหญ่คาดว่า จะคงระดับการจ้างงาน ขณะที่ในระยะยาวในช่วง 5 ปีข้างหน้า CEO ส่วนใหญ่วางแผนจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการจ้างพนักงานชั่วคราว ขณะการจ้างงานพนักงานประจำและผู้เชี่ยวชาญมีแนวโน้มอยู่ในระดับเดิม
- CEO คาดว่า “การที่สังคมไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย” และ “สังคมไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมที่มีเด็กเกิดน้อย” จะส่งผลกระทบเชิงบวกกับบางหมวดธุรกิจ อาทิ บริษัทในหมวดการแพทย์ แต่ CEO ส่วนใหญ่คาดว่าภาวะดังกล่าวจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจไทย กำลังซื้อ ตลาดแรงงาน ตลอดจนผลประกอบการของบริษัท
- บริษัทจดทะเบียนมีการผสมผสานกลยุทธ์ในการบริหารจัดการบุคลากร โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) การปรับปรุงระบบการทำงานโดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาลดขั้นตอนการทำงาน การจัดอบรมเพื่อเพิ่มทักษะพิเศษ การสรรหาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และให้ความใส่ใจกับพนักงานให้การสร้างสมดุลชีวิตและหน้าที่การงาน ซึ่งบริษัทจดทะเบียนไทยคาดว่าจะสามารถบริหารจัดการได้ดีขึ้นในระยะยาว
- บริษัทจดทะเบียนไทยนำแนวคิด “สมดุลชีวิตและหน้าที่การงาน (work-life balance)” มาใช้ในการบริหารบุคลากร อาทิ 1) การพิจารณาจำนวนแรงงานตามความเหมาะสม 2) การเสริมสร้างพัฒนาด้านสมดุลด้านอารมณ์ อาทิ การส่งเสริมแนวคิดทางบวก การจัดอบรมปฏิบัติธรรม 3) การให้ความสำคัญกับการบริหารเวลา อาทิ การปรับเวลาทำงานแบบมีความยืดหยุ่น การกำหนดเวลาทำงานล่วงเวลา การกำหนดให้พนักงานลาพักร้อนติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง (block leave) และ 4) การนำเทคโนโลยีมาช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ลดเวลาการทำงานและการประชุม
- บริษัทจดทะเบียนไทยบางส่วนเสนอภาครัฐในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้สามารถผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ และแนะสังคมปรับเปลี่ยนแนวคิดให้ส่งเสริมการศึกษาด้านงานฝีมือและวิชาชีพ อาทิ กฎหมาย บัญชี เพิ่มมากขึ้น
| ดาวน์โหลดเอกสาร | อ่านฉบับย้อนหลัง |
|

|
SET Note Volume 6/2561:
ผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO Survey): Economic outlook ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2561
Executive Summary:
“ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO) คาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2561 จะเติบโตต่อเนื่องจากในช่วงครึ่งแรกของปี และเศรษฐกิจไทยในปี 2561 จะเติบโตในช่วง 3% ถึง 4% โดยบริษัทที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตมากกว่า 4% มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2561 ได้แก่ นโยบายการคลังและการใช้จ่ายภาครัฐ และการท่องเที่ยว ขณะที่กำลังซื้อภายในประเทศ และเสถียรภาพด้านการเมืองภายในประเทศจะเป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตเศรษฐกิจ”
แนวโน้มเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
- ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO) ส่วนใหญ่คาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2561 มีแนวโน้มดีขึ้น โดย CEO คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในปี 2561 จะเติบโตอยู่ในช่วง 3% ถึง 4%
- ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2561 CEO คาดว่านโยบายการคลังและการใช้จ่ายภาครัฐ การท่องเที่ยว กำลังซื้อภายในประเทศ และเสถียรภาพของการเมืองในประเทศ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2561 CEO ได้แก่ กำลังซื้อภายในประเทศ เสถียรภาพการเมืองในประเทศ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แตกต่างจากการสำรวจครั้งก่อนที่มองว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย คือ ความผันผวนของเงินบาท เสถียรภาพของการเมืองในประเทศ และต้นทุนแรงงาน
- 56% ของ CEO คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมที่ตนดำเนินการอยู่จะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากช่วงครึ่งแรกของปี 2561 แต่สัดส่วนลดลงจาก 64% จากการสำรวจครั้งก่อน
แนวโน้มการดำเนินธุรกิจ
- CEO ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2561 ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนจะปรับตัวดีขึ้น โดย 71% ของ CEO คาดรายได้เติบโตมากกว่า 3% และ 46% ของCEO คาดว่ารายได้จะเติบโตมากกว่า 6%
- สำหรับแนวโน้มการดำเนินธุรกิจในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2561 พบว่า CEO ส่วนใหญ่คาดว่าต้นทุนการผลิตปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันโลก เช่นเดียวกับราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ CEO ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าระดับการจ้างงานและสภาพคล่องจะอยู่ในระดับเดิม
แนวโน้มการลงทุน
- CEO ส่วนใหญ่วางแผนจะขยายการลงทุนในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2561 พบว่า 50% ของ CEO วางแผนขยายการลงทุนทั้งในต่างจังหวัดและต่างประเทศ ซึ่งมีประเทศเป้าหมายการลงทุน คือ ประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม โดยแหล่งทุนหลัก 3 อันดับแรก คือ กำไรสะสมของกิจการ สินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ และการออกหุ้นกู้ภายในประเทศ
| ดาวน์โหลดเอกสาร | อ่านฉบับย้อนหลัง |
|
|
|

|
SET Note Volume 5/2561:
Foreign Holding 2018: เปิดพอร์ตการถือครองหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างประเทศ ปี 2561
Executive Summary:
“แม้ในช่วงเดือนมิถุนายน 2560 - พฤษภาคม 2561 นักลงทุนต่างประเทศจะขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยสูงถึง 170,884 ล้านบาท แต่ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยยังคงทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่* ที่ 5.22 ล้านล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นกว่า 604,067 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 13.10% จากสิ้นเดือนพฤษภาคม 2560 ที่สำคัญจาก 1) การปรับตัวเพิ่มขึ้นของระดับราคาหลักทรัพย์ในตลาด โดย SET Index ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 ปรับเพิ่มขึ้น 10.59% จากสิ้นเดือนพฤษภาคม 2560 และ 2) จากการที่นักลงทุนต่างประเทศถือครองหุ้นเพิ่มขึ้นใน 310 บริษัท ส่งผลให้มูลค่าการถือครองหุ้นในส่วนนี้ เพิ่มขึ้นสุทธิ 692,385 ล้านบาท
- เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทยกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 นักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการถือครองหุ้นในตลาดหุ้นไทยรวม 5.22 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 604,067 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 13.10% จากสิ้นเดือนพฤษภาคม 2560 ขณะที่สัดส่วนมูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศอยู่ที่ 30.93% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ลดลงจาก 31.05% ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2560
- นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 170,884 ล้านบาท ในช่วงเดือนมิถุนายน 2560 -พฤษภาคม 2561 หรือคิดเป็นประมาณ 3.70% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2560 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว SET Index ปรับเพิ่มขึ้นสูงถึง 10.59%
- นักลงทุนต่างประเทศยังสนใจตลาดหุ้นไทยในระยะยาว สังเกตได้จากการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศที่ยังคงถือครอง foreign shares เป็นส่วนใหญ่ ที่ประมาณ 77.17% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศ และในช่วงเดือนมิถุนายน 2560 - พฤษภาคม 2561 นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิใน local shares 356,268 ล้านบาท และขายสุทธิใน foreign shares 6,927 ล้านบาท ขณะเดียวกันนักลงทุนต่างประเทศยังคงซื้อสุทธิในหลักทรัพย์ NVDR ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาด้วยมูลค่า 192,311 ล้านบาท นอกจากนี้ยังพบว่า นักลงทุนต่างประเทศซื้อขาย foreign shares เพียง 4.38% ของมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศ และมูลค่าขายสุทธิใน foreign shares คิดเป็นเพียง 0.19%ของ foreign shares ทั้งหมดที่นักลงทุนต่างประเทศถือครองในปี 2560
- ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 มีนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทย 110 สัญชาติ เท่ากันกับปีที่ผ่านมา และนักลงทุน 10 สัญชาติแรกที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นสูงสุดยังคงเหมือนปีที่ผ่านมา แต่มีการสลับอันดับ ได้แก่ นักลงทุนจากสหราชอาณาจักร สิงคโปร์ อเมริกา ฮ่องกงญี่ปุ่น สวิสเซอร์แลนด์ มอริเชียส ลักเซ็มเบริ์ก เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ตามลำดับ ซึ่งมีมูลค่าการถือครองรวม 95.24% ของมูลค่าการถือครองหุ้นรวมของนักลงทุนต่างประเทศทั้งหมด
- มูลค่าการถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในทุกอุตสาหกรรม โดย 75% ของมูลค่าการถือครองของนักลงทุนต่างประเทศอยู่ในกลุ่มธุรกิจการเงิน กลุ่มทรัพยากร กลุ่มธุรกิจบริการ และกลุ่มเทคโนโลยี โดย 3 หมวดธุรกิจที่มีมูลค่าการถือครองหุ้นเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ หมวดพลังงาน หมวดปิโตรเคมี และหมวดพาณิชย์
| ดาวน์โหลดเอกสาร | อ่านฉบับย้อนหลัง |
|
|
|

|
SET Note Volume 4/2561:
เรื่องน่ารู้ก่อนลงทุนหุ้นปันผล
Executive Summary:
- การเลือกหุ้นปันผล: พิจารณาหุ้นรายตัว หรือ Individual Stock Selection พบว่า 191 หลักทรัพย์ติดรายชื่อหุ้นปันผลที่มีความโดดเด่น (หลักทรัพย์ในกลุ่ม Dividend Universe: กำไรต่อเนื่อง มีสภาพคล่อง มีธรรมภิบาลในการบริหารงาน และจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ ตลอดช่วง 3 ปีล่าสุด) โดย 48 หลักทรัพย์ในกลุ่มนี้มี Dividend Yield สูงกว่า 5% และ ณ 8 พฤษภาคม 2561 พบว่า มี 20 หลักทรัพย์จาก 48 หลักทรัพย์มีราคาหลักทรัพย์ต่ำกว่าราคาประมาณการ 12 เดือนของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (12-Monthly Consensus Target Price) ถือว่า ราคาหลักทรัพย์ปัจจุบันของบริษัทเหล่านี้ยังอยู่ในระดับที่สามารถลงทุนได้
- การติดตามสิทธิประโยชน์: ณ สิ้นเดือนเมษายน 2561 เงินปันผลมูลค่ารวมสูงถึง 453 ล้านบาท ที่ไม่สามารถส่งถึงผู้ถือหุ้น เนื่องจากผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลงที่อยู่และไม่แจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลในการจัดส่งเอกสาร หรือ บัญชีที่ใช้รับเงินปันผลไม่พร้อมใช้งาน อาทิ มีการปิดบัญชีธนาคารไปแล้ว เป็นต้น โดยผู้ลงทุนการติดตามสิทธิและเอกสารต่างๆ ผู้ถือหุ้นสามารถติดต่อได้ที่ 3 วิธี ได้แก่ 1) TSD Counter Service ชั้น 1 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) SET Contact Center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-009-9999 และ 3) การตรวจสอบด้วยตนเองผ่านระบบ TSD Investor Portal โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัครและใช้บริการที่ www.set.or.th/tsd
- การใช้สิทธิเครดิตภาษีเงินปันผล: ผู้ถือหุ้นมีโอกาสได้เงินเพิ่มเติมจากการเครดิตภาษีเงินปันผล โดยสามารถ Download ข้อมูลประกอบการเครดิตภาษีเงินปันผลจากระบบ TSD Investor Portal ที่สรุปยอดเงินปันผลในแต่ละอัตราภาษีของทุกหลักทรัพย์ที่ผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลและมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องเสียเวลาในการรวบรวมข้อมูลเพื่อยื่นต่อกรมสรรพากร
- ก่อนลงทุนในหุ้นปันผล ผู้ลงทุนพึงศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุน เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ครบถ้วน ตามแนวคิด “เลือกหุ้นเป็น ใจเย็นรอปันผล สืบค้นตามสิทธิ์ เครดิตภาษีคืน”
| ดาวน์โหลดเอกสาร | อ่านฉบับย้อนหลัง |
|
|
|

|
SET Note Volume 3/2561:
ผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (CEO Survey): Economic outlook ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2561
Executive Summary:
| ดาวน์โหลดเอกสาร | อ่านฉบับย้อนหลัง |
|
|
|
 |
SET Note Volume 2/2561:
Capital Market Research Innovation 2018 นวัตกรรมด้านงานวิจัยสำหรับตลาดทุนยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
Executive Summary:
- สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เห็นความสำคัญในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่กำลังมีบทบาทในตลาดทุน จึงจัดโครงการ “Capital Market Research Innovation” โดยเริ่มจากจัดการแข่งขันประกวดหัวข้องานวิจัย “Capital Market Smart Idea” ซึ่งผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถนำเสนอหัวข้องานวิจัยที่ต้องการให้สถาบันวิจัยฯ นำไปศึกษาต่อผ่านการ Survey บนช่องทาง Online
- อย่างไรก็ดี การจัดการประกวดหัวข้องานวิจัยจากบุคคลทั่วไปนั้น มีข้อที่ควรพิจารณาอยู่หลายประการ อาทิเช่น ทำอย่างไรไม่ให้คนทั่วไปรู้สึกว่าเข้าถึงยากหรือมีความเป็นวิชาการมากจนเกินไป? ทำอย่างไรให้คนทั่วไปส่งแนวคิดหรือคำถามที่สร้างสรรค์? และ ทำอย่างไรให้คนทั่วไปส่งแนวคิดหรือคำถามที่ทันสมัยเข้ากับตลาดทุนในยุคใหม่? สถาบันวิจัยฯ จึงได้พยายามออกแบบวิธีการประชาสัมพันธ์ต่างๆ ให้เหมาะสมโดยหวังว่าจะสามารถเอาชนะข้อจำกัดเหล่านี้ได้
- ผลการสำรวจเบื้องต้นโดยใช้ข้อมูล ณ วันที่ 9 มี.ค. 2561 พบว่าผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการมีความหลากหลาย โดยมีช่วงอายุตั้งแต่ 16 – 68 ปี มาจากหลายสาขาอาชีพโดยมีทั้งที่อยู่และไม่อยู่ในธุรกิจตลาดทุน แต่กว่า 80% มาจากผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ทั้งนี้กลุ่มผู้สนใจเข้าร่วมโครงการหลัก อายุอยู่ในช่วง 21 ถึง 40 ปีซึ่งเป็นวัยที่เพิ่งเรียนจบและเพิ่งเริ่มทำงาน โดยอาชีพที่มีผู้ส่งคำถามมามากเป็นอันดับหนึ่งคือ ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ/นักลงทุนมืออาชีพ
- หัวข้องานวิจัยที่คนอยากให้นำไปศึกษาต่อ 3 อันดับแรกได้แก่ Financial Literacy, Capital Market Trend และ Financial Innovation ทั้งนี้โครงการ Capital Market Smart Idea จะปิดรับสมัครในวันที่ 20 เม.ย. 2561 จากนั้นแนวคิดและคำถามจะถูกพัฒนาเป็นหัวข้องานวิจัยเพื่อต่อยอดให้เกิดเป็นนวัตกรรมด้านการวิจัยในตลาดทุน สุดท้ายนี้จึงขอเชิญชวนทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึงของการสร้างนวัตกรรมนี้โดยเสนอแนวคิดของท่านมาที่ www.set.or.th/th/news/cm_research_innovation/competition_p1.html
| ดาวน์โหลดเอกสาร | อ่านฉบับย้อนหลัง |
|
|
|
 |
SET Note Volume 1/2561:
Tourism linked sector: กลุ่มหลักทรัพย์ที่น่าจับตา
Executive Summary:
- ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาการท่องเที่ยวเติบโตในอัตราที่สูงกว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอื่นในปี 2016 ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงเป็นลำดับที่ 3 ของโลก และมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลกด้วยทำเลที่ตั้งของประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในกลุ่มประเทศ CLMVT และการพัฒนาสาธารณูปโภคและการอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวของไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและการเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
- นอกจากประเทศไทยจะเป็นจุดหมายปลายทางหลักด้านการท่องเที่ยวในอันดับต้นๆ ของโลกแล้ว หุ้นไทยที่ประกอบธุรกิจในกลุ่มที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว (Tourism linked sector) ยังติดอันดับ Top 50 ของโลก โดยเมื่อต้นปี 2018 AOT มี market capitalization สูงเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับบริษัทจดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจสนามบินทั่วโลก ในขณะที่ BDMS และ BH มี market capitalization สูงเป็นอันดับ 5 และอันดับ 11 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับบริษัทจดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจบริการทางการแพทย์ทั่วโลก นอกจากนี้ MINT มี market capitalization สูงเป็นอันดับ 28 ของโลก เมื่อเทียบกับบริษัทจดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจโรงแรมและภัตตาคารทั่วโลก
- บริษัทจดทะเบียนทั้ง SET และ mai จำนวนรวม 58 บริษัทที่ประกอบธุรกิจในTourism linked sector ณ สิ้นปี 2017 บริษัทจดทะเบียนใน Tourism linked sector ใน SET มี market capitalization ประมาณ 16% ของ market capitalization ของ SET
- ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาผลตอบแทนรวม (total return) จากการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Tourism linked sector สูงกว่า total return ของตลาดซึ่งเกิดจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นในกลุ่มนี้ที่สูงกว่าการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่ ROE ของกลุ่ม Tourism linked sector สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดมาโดยตลอด
| ดาวน์โหลดเอกสาร | อ่านฉบับย้อนหลัง |
|
|
|